Page 28 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 28
สุธาสินี แก้วเหล็กไหล อดีตแรงงานหญิงในโรงงานย่านรังสิตและ
เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในโรงงาน เริ่มต้นเธอเป็นเพียงสมาชิก
ของสหภาพแรงงาน ต่อมาประธานสหภาพแรงงานได้ถูกเลิกจ้าง จึงมีการเลือก
กรรมการสหภาพคนใหม่ ซึ่งเธอได้รับเลือกให้เป็นประธานสหภาพแรงงาน กระทั่ง
ช่วงประมาณปี 2542 นายจ้างเลื่อนการจ่ายค่าจ้างหลายครั้ง จึงทำาให้เธอและ
ผู้นำาแรงงานหญิงลุกขึ้นมาเรียกร้อง โดยการหยุดงานเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง
ต่อมา มีการเจรจากับนายจ้าง และนายจ้างยอมจ่ายค่าจ้างให้ในวันดังกล่าว ซึ่งผล
ของการเรียกร้องทำาให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตรงตามระยะเวลา แต่นายจ้างกลับใช้
เหตุนี้เป็นเหตุเลิกจ้างเธอและผู้นำาแรงงานหญิงที่ลุกขึ้นมาเรียกร้อง โดยฟ้อง
ต่อศาลแรงงานเพื่อขอเลิกจ้าง เธอและผู้นำาแรงงานหญิงต่อสู้มาโดยตลอด
กระทั่งศาลฎีกามีคำาพิพากษาว่านายจ้างกระทำาความผิด จึงเป็นเหตุให้ลูกจ้าง
ต้องลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเอง และศาลได้มีคำาสั่งให้บริษัทรับเธอและผู้นำา
แรงงานหญิงกลับเข้าทำางานอีกครั้ง ต่อมาโรงงานประกาศล้มละลาย หลังจาก
ที่โรงงานปิดกิจการ เธอได้เข้าทำางานด้านสิทธิแรงงานกับโครงการรณรงค์
เพื่อแรงงานไทยและคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย โดยเป็นผู้ประสานงาน
ด้านการจัดตั้งสหภาพแรงงานและเจ้าหน้าที่ภาคสนามตั้งแต่ปี 2545 - 2558
สุธาสินีพยายามเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นผู้หญิง แรงงาน
หรือผู้นำากลุ่มศาสนา ให้สามารถเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ขึ้นในสังคม ในช่วงที่เธอยังเป็นประธานสหภาพแรงงาน เธอและแรงงานหญิง
ร่วมกันเรียกร้องให้วันสตรีสากลหรือวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดของโรงงาน
นายจ้างก็อนุมัติและสนับสนุน เพราะในวันดังกล่าวแรงงานหญิงจะขอลาหยุด
เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมและออกแถลงการณ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานแรก
ในประเทศไทยที่แรงงานหญิงออกมาเรียกร้อง จึงส่งผลให้ ต่อมามีโรงงานอีกโรงงานหนึ่ง
ส่งแรงงานหญิงออกมาเรียกร้องให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดของโรงงาน
ท้ายที่สุดโรงงานยอมประกาศให้วันสตรีสากลเป็นวันหยุดของโรงงานทุกปี
27