Page 7 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 7

ข้าพเจ้าขอขอบคุณและรู้สึกชื่นชมในการท�างานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติภายใต้โดย
              คณะอนุกรรมการด้านสิทธิผู้หญิง ที่ได้เล็งเห็นความส�าคัญและพยายามทุ่มเทการท�างานเพื่อช่วยยกระดับการเข้าถึง

              สิทธิและความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีคนส่วนใหญ่นับถือ
              ศาสนาอิสลาม แต่จากรายงานของคณะอนุกรรมการสิทธิด้านผู้หญิงฉบับนี้ ซึ่งได้ศึกษารวบรวมสถานการณ์และสภาพ
              ปัญหาที่ยังคงเกิดขึ้นในสังคมมุสลิมเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิม ซึ่งจะว่าไปแล้ว

              สถานการณ์การเข้าถึงสิทธิและความยุติธรรมของผู้หญิงนั้นดูเหมือนว่ายังคงเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นสากลเกิดขึ้นใน
              ทุกสังคม แม้แต่สังคมในโลกตะวันตกและโลกมุสลิมโดยทั่วไป ดังนั้น ในส่วนของสังคมมุสลิมเอง ทุกภาคส่วนที่มีส่วน

              เกี่ยวข้องตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล (มุสลิมทุกคน) กรรมการมัสยิด กรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด กรรมการกลาง
              อิสลามแห่งประเทศไทย รวมทั้งส�านักจุฬาราชมนตรี จ�าเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ เพราะการต้อง
              สถาปนาความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมนั้นนับเป็นแก่นค�าสอนส�าคัญที่สุดประการหนึ่งของศาสนาอิสลาม โดยความ

              ยุติธรรมในทัศนะอิสลาม หมายถึง การให้สิทธิและการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเท่าเทียม  ความยุติธรรมจึงเป็นคุณค่าทาง
              ศีลธรรมที่สูงส่งและเป็นคุณลักษณะส�าคัญของมนุษย์และของสังคมที่มีดุลยภาพ (วะสะฏียะฮ์)

                     คัมภีร์อัล-กุรอาน ได้มีการย�้าเน้นมากมายเกี่ยวกับการสร้างความยุติธรรมในสังคม ได้แก่
                     “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเพื่ออัลลอฮ์ เป็นพยานด้วยความเที่ยงธรรมและจงอย่าให้
              การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ท�าให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความย�าเกรงยิ่งกว่า และ

              พึงย�าเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระท�ากัน”(อัล-กุรอาน ๕: ๘)
                     พระผู้เป็นเจ้าจึงกล่าวถึงผู้ผดุงความยุติธรรมไว้ว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (อัล-กุรอาน ๖๐: ๘)

                     และพระองค์ทรงยืนยันถึงเป้าหมายของการส่งบรรดานบีทั้งหลายมายังโลกนี้เพื่อสถาปนาความยุติธรรม
              ดังปรากฏในอัล-กุรอานความว่า :
                     “โดยแน่นอนเราได้ส่งบรรดาร่อซูล (ศาสนทูต) ของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราได้

              ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ด�ารงอยู่บนความเที่ยงธรรม” (อัล-กุรอาน ๕๗: ๒๕)
                     ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า ความยุติธรรมเป็นข้อผูกพันอันหนักแน่นในศาสนาอิสลาม และความ อยุติธรรม

              จึงเป็นสิ่งต้องห้ามส�าหรับคนมุสลิม เพราะพระผู้เป็นเจ้ามีเป้าหมายชัดเจนของการส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายในศาสนา
              อิสลามมาเพื่อให้ทางน�าที่ถูกต้องและผดุงความยุติธรรมและขจัดความอยุติธรรมในสังคม
                     ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวถึงความส�าคัญของความยุติธรรมในอิสลามไว้ว่า

              “จะมีบุคคล ๗ ประเภท ที่จะได้รับการปกป้องภายใต้ร่มเงาของพระผู้เป็นเจ้าในวันที่จะไม่มีร่มเงาใดที่จะสามารถ
              ปกป้องพวกเขาได้นอกจากร่มเงาของพระผู้เป็นเจ้า (ในวันพิพากษา) คือ ผู้น�าที่ทรงความยุติธรรม” (ศอเฮี๊ยะฮ์ มุสลิม

              ฮะดีษหมายเลข ๑๐๓๑) ดังนั้น จากค�าสอนดังกล่าวของท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) หมายความว่า
              พระผู้เป็นเจ้าจะทรงทดสอบบรรดาผู้น�ามุสลิมทั้งหลายที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยหาก
              พวกเขาได้ละเลยหรือไร้ความยุติธรรมแล้วไซร้ พวกเขาจะไม่ได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระผู้เป็นเจ้าในวันพิพากษา

                     ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้รายงานในฮะดีษกุดซีย์บทหนึ่งจากองค์พระผู้อภิบาล
              โดยย�้าเตือนเราในเรื่องความยุติธรรมไว้ว่า “ข้าขอห้ามทั้งต่อตัวข้าเองและท่านทั้งหลายไม่ให้เป็นผู้ที่ไร้ความยุติธรรม”

              (ศอเฮี๊ยะฮ์ มุสลิม ฮะดีษหมายเลข ๒๕๗๗) และท่านนบียังได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงระวังเรื่องความอยุติธรรม
              เพราะมันจะน�าสู่ความมืดในวันพิพากษา” (ศอเฮี๊ยะฮ์ มุสลิม ฮะดีษ หมายเลข ๒๕๗๘)









                ก      ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12