Page 4 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 4

ค�ำน�ำ





                     รายงานฉบับนี้จัดท�าขึ้นด้วยความพยายามของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและองค์กรเครือข่าย
              ที่ร่วมกันด�าเนินงานโครงการ “การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิม

              ในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ตั้งแต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่สอง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘

              โดยการสนับสนุนจาก UN Women และมีการด�าเนินโครงการต่อเนื่องถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
              ชุดที่สาม ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โครงการนี้นับเป็นความพยายามแรกๆ ในประเทศไทยในการเสริมสร้างความตระหนัก

              เรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมลายูมุสลิมและเรื่องหลักการอิสลามซึ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศแก่องค์กร

              ผู้หญิงมุสลิมและเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการเสริมสร้าง
              ความเข้มแข็งแก่องค์กรผู้หญิงมุสลิมและเครือข่ายในการร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลไกระดับประเทศ

                     รายงานฉบับนี้ได้น�าเสนอตัวอย่างประสบการณ์ความยากล�าบากของผู้หญิงและการไม่ได้รับความเป็นธรรม

              ของผู้หญิงอันเนื่องมาจากความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น หรือกฏชุมชนที่ผู้หญิงมุสสิมจังหวัดชายแดนภาคใต้จ�านวน
              ไม่น้อยต้องเผชิญ โดยชี้ให้เห็นความสอดคล้องของหลักศาสนาอิสลามกับหลักสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงตามมาตรฐาน

              ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on Elimination of All Forms
              of Discrimination against Women – CEDAW) ของสหประชาชาติ ที่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรทางศาสนา

              ทุกระดับที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ปัญหาและก�าหนดแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

              ที่ผู้หญิงมุสลิมสามารถเข้าถึงได้ง่าย ละเอียดอ่อนต่อมิติทางเพศสภาพ และส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
              ตามเจตนารมณ์ของ CEDAW  รายงานฉบับนี้ยังเชื่อมโยงกลไกด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ของสหประชาชาติกับบทบาท

              ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในระดับประเทศ
                     ประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอแนะของ

              ผู้หญิงมุสลิมชายแดนจังหวัดภาคใต้ รวมทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าขององค์การความร่วมมืออิสลาม

              (Organization of Islamic Cooperation – OIC) ในการขจัดการเลือกปฏิบัติและส่งเสริมความเสมอภาคของหญิง
              และชาย จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานภาครัฐและองค์กรทางศาสนาที่จะพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในเรื่องต่างๆ

              ให้ผู้หญิงมลายูมุสลิมได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9