Page 32 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนวันสตรีสากล 2561
P. 32
ผู้น�าส่วนใหญ่ของกลุ่มเป็นคนรุ่นใหม่ เป็นผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ที่กลับไปช่วยงานของกลุ่มฯ และร่วมท�างานเคียงบ่าเคียงไหล่กับชาวบ้านในหมู่บ้าน
กระบวนการต่อสู้ของกลุ่มรักษ์บ้านแหง ได้ด�าเนินการผ่านกลไกของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
พร้อมท�าหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบการใช้อ�านาจ
โดยมิชอบของผู้ใหญ่บ้านและหรือผู้น�าท้องถิ่นในพื้นที่ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
หรือคอร์รัปชั่นหรือไม่ รวมถึงการตรวจสอบการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ สปก.ท�าเหมือง
ขณะเดียวกันยังท�าหนังสือร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ และหัวหน้า
ศูนย์ด�ารงธรรมให้ตรวจสอบด้วย และไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเปิดหน้าเรียกร้อง
ความเป็นธรรมกับหน่วยงานของรัฐและบริษัทยักษ์ใหญ่ครั้งนี้เส้นทางไม่ได้ราบรื่น
และตามมาด้วยการถูกใช้คดีความจ�านวนมากเพื่อตอบโต้กับการต่อสู้ของชาวบ้าน
“ชำวบ้ำนผ่ำนกำรถูกด�ำเนินคดีมำเยอะ พอเจออะไรข้ำงหน้ำ เรำก็จะต่อสู้
ปรับตำมสถำนกำรณ์เฉพำะหน้ำไป พร้อมที่จะเผชิญปัญหำ เพรำะควำมจริงก็คือ
ควำมจริง เรำมำแค่เรียกร้องควำมเป็นธรรมของเรำ ไม่ได้เกเร หรือหำเรื่องใคร”
ที่ผ่านมาเราถูกคุกคามหลายรูปแบบ ทั้งการถูกสะกดรอยติดตามตัว
โดยชายฉกรรจ์ที่ไม่ทราบชื่อ การใช้เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาคุกคาม การขู่ฆ่า และ
การขู่จะอุ้มหายต่อผู้หหญิงนักปกป้องสิทธิที่เป็นสมาชิกกลุ่ม โดยในบรรดา
ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งถูกคุกคาม ประกอบด้วย น.ส. แววรินทร์ บัวเงิน
ที่ในปัจจุบันก�าลังอยู่ในระหว่างถูกด�าเนินคดีอาญา และได้มีการติดต่อขอรับความ
ช่วยเหลืออย่างเต็มประสิทธิภาพจากกองทุนยุติธรรม เพื่อให้ได้รับการประกันตัว
และความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
ทั้งสมาชิกของกลุ่มรักษ์บ้านแหง และกลุ่มที่สนับสนุน เช่น ที่ปรึกษาของ
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทยและทนายความที่ท�างานกับกลุ่ม
ได้ถูกคุกคามและติดตามจากกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวว่าท�างานกับบริษัท
ปัจจุบันในพื้นที่ยังคงมีปัญหาความขัดแย้ง โดยกลุ่มรักษ์บ้านแหงยืนยันที่
จะสู้ต่อไปจนกว่าจะได้รับความเป็นธรรม
31