Page 6 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 6
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนมีขอบเขตอ�านาจหน้าที่เป็นไปตามที่ก�าหนดโดยที่ประชุม
รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (มาตรา ๑๔) ซึ่งองค์กรดังกล่าว คือ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน (AICHR)
๒. AICHR ถือเป็นกลไกและองค์กรหลักในด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ.
๒๕๕๒ และมีภารกิจหลักตามที่ก�าหนดในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่รวม ๑๔ ประการ ซึ่งประการที่ส�าคัญที่สุดใน
ระยะเริ่มแรก คือ การจัดท�าปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AHRD) โดยในการวิจัยได้เน้นความส�าคัญต่อ AICHR ซึ่ง
ถือเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคล่าสุดของโลก (นับจากการจัดตั้งกลไกระดับภูมิภาคในยุโรป อเมริกาและ
แอฟริกา) โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายทั้งในเชิงโครงสร้างและการด�าเนินงานที่เน้นภารกิจในด้านการส่งเสริม
สิทธิมนุษยชน (Promotion) แต่ยังขาดความชัดเจนในการด�าเนินภารกิจการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protection) ทั้งนี้
ได้รวมการวิเคราะห์เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC)
และคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการตามปฏิญญาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (ACMW)
ซึ่งเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนในกรอบอาเซียนที่มีภารกิจเฉพาะด้านด้วย
นอกจากประเด็นตราสารสิทธิมนุษยชนและกรอบกลไกสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในปัจจุบันในอาเซียนแล้ว
รายงานฉบับนี้ยังวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาในระดับภูมิภาคของอาเซียน ตลอดจนกลไกและการจัดท�าตราสาร
สิทธิมนุษยชนในอนาคต พร้อมทั้งจัดท�าข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในการเสริมสร้าง
บทบาทของประเทศไทยในเวทีสิทธิมนุษยชนอาเซียนด้วย และมีข้อสรุปที่ส�าคัญ ดังนี้
๑. การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเต็มรูปแบบ ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
ถือเป็นก้าวส�าคัญในประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะสมาชิกของประชาคมอาเซียนทั้งสิบประเทศ (ซึ่งอาจเพิ่มจ�านวนขึ้นในอนาคต) ความเปลี่ยนแปลงและความ
ท้าทายเชิงโครงสร้างของ AC คือ วิสัยทัศน์อาเซียนและพิมพ์เขียวประชาคมเสาหลักทั้งสามของอาเซียนจะเอื้อให้การ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพัน (Crosscutting) กับทั้งสามเสาหลักสามารถด�าเนินไปได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ โดยประเด็นโครงสร้างดังกล่าวและการพัฒนาหรือปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชนของ
AC จะส่งผลโดยตรงต่อจ�านวนและคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้นของตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียนต่อไป
๒. ส�าหรับบทบาทของประเทศไทยโดยเฉพาะ กสม. ต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ผู้วิจัยได้จัดท�า
ข้อเสนอแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ ระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยในระดับประเทศ ประเทศไทยสามารถเสริม
สร้างบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนได้โดยการเข้าเป็นภาคีในตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พิจารณาถอนข้อสงวน
ต่อตราสารที่ได้เข้าเป็นภาคีแล้ว และเสริมสร้างประสิทธิภาพการอนุวัติการตามพันธกรณีเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่
ประเทศสมาชิกอื่น ๆ นอกจากนั้น ยังสามารถด�าเนินการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทั้งในด้านการแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และความช่วยเหลือทางเทคนิคในประเด็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการจัดตั้ง
กลไกสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ ส�าหรับการด�าเนินการในระดับภูมิภาค ประเทศไทยซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้ง
อาเซียนสามารถผลักดันให้มีการปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนและการสร้างคุณภาพตราสารสิทธิมนุษยชน
ที่อาเซียนจะพัฒนาขึ้นต่อไป
5
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ