Page 5 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 5
บทสรุปผู้บริหาร
ในการจัดท�างานวิจัยฉบับนี้ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์หลักใน
การศึกษาตราสารต่าง ๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบสนธิสัญญา ข้อตกลง ปฏิญญา ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยเฉพาะที่มีผลผูกพัน
ตามกฎหมาย (Hard law) โดยใช้ฐานข้อมูลตราสารที่ส�านักเลขาธิการอาเซียนรวบรวมและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
อาเซียน อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายของอาเซียนดังกล่าว ประกอบกับ
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าอาเซียนได้จัดท�าตราสารทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรงเพียง
ฉบับเดียว ได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ซึ่งที่ประชุมผู้น�าอาเซียน
ได้รับรองในการประชุมครั้งที่ ๒๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ และอนุสัญญา
ดังกล่าวยังไม่ได้รับการรวบรวมในฐานข้อมูลที่ใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยังมีตราสารทาง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอีกจ�านวนหนึ่งซึ่งแยกออกได้เป็นสองประเภท กล่าวคือ กลุ่มที่ก�าหนดเนื้อหา
มี ๔ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง
สิ่งแวดล้อมและการตอบสนองต่อภัยพิบัติรวม ๓ ฉบับ (ข้อตกลงว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากร
ธรรมชาติ ๒๕๒๘ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังมีจ�านวนประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันไม่ครบ ๖ ประเทศ
ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการ
ภัยพิบัติและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง ๒ ฉบับหลังมีผลใช้บังคับแล้ว) และในกลุ่มที่สอง
เป็นกลุ่มตราสารที่จัดตั้งองค์กรเพื่อท�าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีผลกระทบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมถึงข้อตกลง
เพื่อจัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพอาเซียน และข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อการให้
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ
จากการวิจัยพบว่า ตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ที่อาเซียนได้จัดท�าขึ้นอยู่ในรูปแบบตราสาร
ทางการเมือง (Political Instrument) ซึ่งแม้จะไม่มีผลผูกพันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่แสดงเจตจ�านง
ร่วมกันของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในหลายประเด็น และหลายฉบับก�าหนดขั้นตอน
ที่น�าไปสู่การจัดท�าตราสารทางกฎหมายด้วย โดยมีจ�านวน ๒๔ ฉบับ ทั้งนี้ ตราสารที่ส�าคัญที่สุดในด้านสิทธิมนุษยชน
ของอาเซียน คือ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration) ซึ่งผู้น�าอาเซียนประกาศใช้
ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ และก�าหนดรับรองสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
พร้อมทั้งสิทธิใหม่ ๆ อีกหลายประการ เช่น สิทธิในการพัฒนา สิทธิในสันติภาพ สิทธิในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
และสิทธิในสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ปฏิญญานี้ถือเป็นตราสารหลักของอาเซียนในการด�าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
ในการวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่ส�าคัญของอาเซียนในด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในประเด็น
ดังต่อไปนี้
๑. การตรากฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งถือเป็นธรรมนูญของอาเซียนที่มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ.
๒๕๕๑ ได้ก�าหนดให้อาเซียนมีสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศ (Legal Personality) แม้กฎบัตรอาเซียน
จะมิใช่ตราสารด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่เป็นเอกสารพื้นฐานที่ก�าหนดโครงสร้างของประชาคมอาเซียน โดยให้
ประชาคมอาเซียนตั้งอยู่บนหลักการหลายประการ รวมถึงหลักนิติรัฐ ประชาธิปไตย และการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนอาเซียน นอกจากนั้น ยังก�าหนดให้มีการจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชน
4
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ