Page 4 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 4
ค�าน�า
ผลจากการประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ที่อ�าเภอชะอ�า จังหวัดเพชรบุรี และอ�าเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น�าไปสู่การเลื่อนระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นเป็นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยใน
การด�าเนินการให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังกล่าว ได้มีการจัดท�า
ข้อตกลงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ทั้งในรูปแบบของสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันต่อประเทศสมาชิก ปฏิญญา
แผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตระหนักถึงความส�าคัญในเรื่องดังกล่าว จึงร่วมกับมูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) โดยมี ดร.เสรี นนทสูติ เป็นหัวหน้าโครงการ ด�าเนินการศึกษาวิจัย
เรื่อง “พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน” ขึ้น เพื่อรวบรวมตราสารในกรอบความร่วมมือของอาเซียน
ทั้งในรูปแบบของสนธิสัญญา ข้อตกลง ปฏิญญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบ
ต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยเฉพาะที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Hard Law) เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงส�าหรับ
หน่วยงานต่าง ๆ และประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อมีการจัดตั้งประชาคม
อาเซียนเรียบร้อยแล้ว โดยรายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ความเป็นมา พัฒนาการของกลไก
ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและภูมิภาค รายละเอียดตราสารด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ทั้งตราสาร
ทางการเมืองและตราสารทางกฎหมาย ข้อจ�ากัดในการจัดท�าตราสารด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ทิศทางการพัฒนา
และความท้าทาย ตลอดจนบทบาทของประเทศไทยในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้
จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ส�านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานต่าง ๆ ภาควิชาการ รวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลของประชาคมอาเซียนต่อไป
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
กันยำยน ๒๕๖๐