Page 306 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 306
5.4.6 การจัดล าดับความส าคัญของแผนกลยุทธ์
ในส่วนนี้จะเป็นการประเมินความส าคัญของแต่ละกลยุทธ์ โดยอาศัยการประเมินในเชิงคุณภาพของ
คณะผู้วิจัย ร่วมกับผลการรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย โดยในส่วนของการประเมินในเชิง
คุณภาพของคณะผู้วิจัย จะจ าแนกออกเป็น 3 มิติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. มิติด้านความส าคัญของกลยุทธ์ จะแบ่งความส าคัญออกเป็น 5 ระดับโดยให้คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5
โดยมีการแจกแจกความหมายของคะแนนดังนี้
คะแนน ระดับความส าคัญ
5 กลยุทธ์มีความส าคัญอย่างโดดเด่นและน าไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาว
4 คณะผู้วิจัยให้ความส าคัญกับกลยุทธ์เป็นพิเศษในแง่ของความส าคัญ
3 กลยุทธ์น่าจะส่งผลกระทบในด้านบวก
2 กลยุทธ์อาจจะให้ผลกระทบในด้านบวกหรือไม่ก็ได้
1 กลยุทธ์อาจจะส่งผลในด้านลบต่อการดูแลจัดการปัญหา
2. มิติด้านการเป็นพื้นฐานส าหรับต่อยอดในการพัฒนากลยุทธ์อื่นๆ ซึ่งจะมีการแบ่งความส าคัญ
ออกเป็น 5 ระดับเช่นเดียวกัน จากคะแนนเท่ากับ 1 ถึง 5 โดยมีการระบุถึงเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี้
คะแนน ระดับความส าคัญ
5 กลยุทธ์มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนากลยุทธ์อื่นๆ
4 คณะผู้วิจัยให้ความส าคัญกับกลยุทธ์เป็นพิเศษในด้านความสามารถในการ
ต่อยอด
3 กลยุทธ์มีความส าคัญในบางส่วนต่อการพัฒนากลยุทธ์อื่นๆ
2 กลยุทธ์ไม่ได้มีความส าคัญโดยตรงกับกลยุทธ์อื่นๆ
1 กลยุทธ์ดังกล่าวอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากลยุทธ์อื่นๆ
5-67