Page 83 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 83

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  83
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน











                                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
                       แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๖ และมาตรา ๒๕๗ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
                       สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน
                       ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครอง
                       สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ มีวาระการดำารงตำาแหน่งหกปี และดำารงตำาแหน่งได้วาระเดียว




                             อำานาจหน้าที่

                              1.  ตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                 หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
                                และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำา หรือละเลยการกระทำาดังกล่าว
                                 เพื่อดำาเนินการในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภา เพื่อดำาเนินการต่อไป

                              2.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า
                                 บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                                 ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

                              3.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำาสั่ง
                                 หรือการกระทำาอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย
                                 รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

                              4.  ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควร
                                 เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                              5.  เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี
                                 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                              6.  ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

                              7.  ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

                              8.  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่น
                                 ในด้านสิทธิมนุษยชน

                              9.  จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และเสนอต่อรัฐสภา

                             10.  ประเมินผลและจัดทำารายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปีเสนอต่อรัฐสภา

                             11.  เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับ
                                 การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                              12 .  อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
   78   79   80   81   82   83   84