Page 145 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 145

ข้อ 27


                          1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กทุกคน ในอันที่จะได้รับมาตรฐานของการด ารงชีวิตที่เพียงพอส าหรับการ
                   พัฒนาด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และสังคมของเด็ก


                          2.  บิดามารดาหรือผู้อื่นที่รับผิดชอบต่อเด็ก   มีความรับผิดชอบเบื้องต้นที่จะจัดหาสภาพความเป็นอยู่ที่

                   จ าเป็นส าหรับการพัฒนาของเด็ก ทั้งนี้ ตามความสามารถและก าลังทางการเงินของบุคคลเหล่านั้น

                          3. ตามสภาวะและก าลังความสามารถของประเทศ  รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะให้ความ

                   ช่วยเหลือบิดามารดา และผู้อื่นที่รับผิดชอบต่อเด็ก ในการด าเนินการตามสิทธินี้ และในกรณีที่จ าเป็นรัฐภาคีจะให้
                   ความช่วยเหลือด้านวัตถุและแผนงานสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโภชนาการ เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย


                          4.  รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง   ที่จะได้รับชดใช้ค่าเลี้ยงดูเด็กคืนจากบิดามารดาหรือ
                   ผู้อื่นที่มีความรับผิดชอบทางการเงินต่อเด็ก ทั้งที่อยู่ในรัฐภาคีเองและรัฐอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่บุคคลที่มี

                   ความรับผิดชอบทางการเงินต่อเด็กอาศัยอยู่ในรัฐอื่น นอกเหนือจากรัฐที่เด็กอาศัยอยู่ รัฐภาคีจะส่งเสริมการเข้าเป็น
                   ภาคีในความตกลงระหว่างประเทศ   หรือการจัดท าความตกลงเช่นว่านั้น   ตลอดจนการจัดท าข้อตกลงอื่นๆ   ที่

                   เหมาะสม

                                                          ข้อ 28


                          1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษา  และเพื่อที่จะให้สิทธินี้บังเกิดผลตามล าดับและบน

                   พื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกัน รัฐภาคีจะ


                                 ก) จัดการศึกษาระดับประถมเป็นภาคบังคับที่เด็กทุกคนสามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

                                 ข) สนับสนุนการพัฒนาของการศึกษาระดับมัธยมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการศึกษาสายสามัญ

                          และสายอาชีพ  จัดการศึกษาให้แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน   และด าเนินมาตรการที่เหมาะสม
                          เช่น การน ามาใช้ซึ่งการศึกษาแบบให้เปล่าและการเสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินในกรณีที่จ าเป็น


                                 ค) ท าให้การศึกษาในระดับสูงเปิดกว้างแก่ทุกคนบนพื้นฐานของความสามารถ โดยทุกวิธีการ
                          ที่เหมาะสม


                                 ง)  ท าให้ข้อมูลข่าวสาร  และการแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพ   เป็นที่แพร่หลายและเปิด
                          กว้างแก่เด็กทุกคน


                                 จ)  ด าเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าเรียนอย่างสม ่าเสมอ   และลดอัตราการออกจาก

                          โรงเรียนกลางคัน


                          2.  รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะประกันว่า   ระเบียบวินัยของโรงเรียนได้ก าหนดขึ้นใน
                   ลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของเด็ก และสอดคล้องกับอนุสัญญานี้
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150