Page 144 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 144
ข) ประกันให้มีการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่จ าเป็นและการดูแลสุขภาพแก่เด็กทุกคน
โดยเน้นการพัฒนาการดูแลสุขภาพขั้นปฐม
ค) ต่อสู้กับโรคภัย และทุพโภชนาการ รวมทั้งที่อยู่ภายในขอบข่ายของการดูแลสุขภาพขั้น
ปฐม ซึ่งนอกเหนือจากวิธีการอื่นแล้วยังด าเนินการโดยการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่พร้อมแล้ว และโดยการ
จัดหาอาการที่ถูกหลักโภชนาการและน ้าดื่มที่สะอาดอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ โดยพิจารณาถึงอันตราย และ
ความเสี่ยงของมลภาวะแวดล้อม
ง) ประกันให้มีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมแก่มารดาทั้งก่อนและหลังคลอด
จ) ประกันว่าทุกส่วนของสังคม โดยเฉพาะบิดามารดาและเด็ก จะได้รับข้อมูล ข่าวสาร และ
เข้าถึงการศึกษาและการสนับสนุนให้ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องโภชนาการและสุขภาพเด็ก เรื่อง
ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เรื่องอนามัยและสุขาภิบาลสภาพแวดล้อม และเรื่องการ
ป้ องกันอุบัติเหตุ
ฉ) พัฒนาการดูแลสุขภาพเชิงป้ องกัน การแนะแนวแก่บิดามารดาและการให้บริการและ
การศึกษาในเรื่องการวางแผนครอบครัว
3. รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทั้งปวง เพื่อที่จะขจัดทางปฏิบัติดั้งเดิมที่เป็นผลร้ายต่อ
สุขภาพของเด็ก
4. รัฐภาคีรับที่จะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่าประเทศ เพื่อที่จะให้การด าเนินการให้สิทธิที่ยอมรับ
ในข้อนี้บังเกิดผลอย่างเต็มที่ตามล าดับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ความจ าเป็นของประเทศก าลังพัฒนาจะได้รับการพิจารณา
เป็นพิเศษ
ข้อ 25
รัฐภาคียอมรับในสิทธิของเด็ก ผู้ซึ่งได้รับการจัดโดยหน่วยงานที่มีอ านาจให้ได้รับการดูแล การคุ้มครอง
หรือการบ าบัดรักษาสุขภาพ ทั้งทางร่างกายหรือจิต ในอันที่จะได้รับการทบทวนการบ าบัดรักษาที่ให้แก่เด็กเป็น
ระยะๆตลอดจนสภาวะแวดล้อมอื่นทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดดังกล่าว
ข้อ 26
1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กทุกคน ในอันที่จะได้รับประโยชน์จากการประกันสังคม รวมถึงการ
ประกันภัยทางสังคม และจะด าเนินมาตรการที่จ าเป็นเพื่อให้สิทธินี้บังเกิดผลอย่างเต็มที่ตามกฎหมายของแต่ละ
ประเทศ
2. ในกรณีที่เหมาะสม การให้ประโยชน์ควรค านึงถึงทรัพยากร และสภาวะแวดล้อมของเด็ก และบุคคล
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนข้อพิจารณาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอรับประโยชน์ซึ่งกระท า
โดยเด็กผู้นั้นหรือตัวแทน