Page 19 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 19

พิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบ
                 คำาวินิจฉัย  คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง


                       ๔.๒ ประมวลกฎหมายอาญา
                           ม�ตร� ๑๗๑  ผู้ใดขัดขืนคำาสั่งของศาลให้สาบาน ปฏิญาณให้ถ้อยคำา หรือเบิกความ ต้องระวาง
                 โทษจำาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ

                       ๔.๓ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

                           ม�ตร� ๑๑๒  ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี
                 แห่งชาติของตน หรือกล่าวคำาปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่

                           (๑)  พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
                           (๒)  บุคคลที่มีอายุต่ำากว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ

                           (๓)  พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
                           (๔)  บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคำาปฏิญาณ



                 ๕.  คว�มเห็นคณะอนุกรรมก�รตรวจสอบก�รละเมิดสิทธิมนุษยชนด้�นกฎหม�ย
                       และก�รปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

                       ๕.๑ ความเห็นคณะอนุกรรมการฯ

                           คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่
                 ไม่เป็นธรรมได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตลอดแล้วเห็นว่า ตามประมวล

                 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้อง
                 สาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน  หรือกล่าวคำาปฏิญาณว่าจะให้การ

                 ตามความสัตย์จริงเสียก่อน”  และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๑  บัญญัติว่า  “ผู้ใด
                 ขัดขืนคำาสั่งของศาลให้สาบาน ปฏิญาณให้ถ้อยคำาหรือเบิกความ ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินหกเดือน

                 หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ”  ซึ่งจากบทบัญญัติของกฎหมายได้ระบุไว้อย่าง
                 ชัดเจนว่า  ผู้ที่จะให้การต่อศาลต้องกล่าวคำาสาบานตนหรือกล่าวคำาปฏิญาณก่อนเบิกความ หากไม่
                 ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้  ซึ่งในการกล่าวคำาสาบานหรือ

                 กล่าวคำาปฏิญาณจะเป็นไปตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีที่แต่ละคนนับถือ โดยมีความเกี่ยวข้อง
                 กับเรื่องของความเชื่อและการเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ  และเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือของ

                 พยาน ซึ่งศาลได้กำาหนดรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของแต่ละศาสนาเพื่อให้เกิดความสะดวกในการ
                 กล่าวคำาสาบานหรือการปฏิญาณ โดยในการกล่าวคำาสาบานหรือการกล่าวคำาปฏิญาณก่อนเบิกความ
                 ต่อศาล มีตัวอย่างฎีกาที่ตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย ตามคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๗

                 โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นดำาเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็น
                 ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหา

                 ดังกล่าว ศาลฎีกามีอำานาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕)
                 ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗  พิพากษายกคำาสั่งของศาลชั้นต้นและคำาพิพากษา


            18

            สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
            ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24