Page 20 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 20
ศาลอุทธรณ์ ภาค ๑ ให้ศาลชั้นต้นดำาเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนแล้วมีคำาสั่งหรือคำาพิพากษาใหม่
ตามรูปคดี
ทั้งนี้ ผู้แทนสำานักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำานักงานศาลปกครอง และผู้แทนกรม-
พระธรรมนูญ รับว่า จะนำาข้อมูลที่ได้จากการประชุมไปปรับปรุงเพื่อให้รูปแบบคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณ
เป็นไปในรูปแบบเดียวกันและมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็น
ระบบในทุกชั้นศาล และเพื่อความเป็นสากล โดยรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานควรที่จะเป็นการเฉพาะตัว
ของบุคคลที่กล่าวคำาสาบาน และต้องคำานึงถึงการกล่าวถึงครอบครัว ซึ่งไม่ควรมีการอ้างถึงครอบครัว
ในทุกศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐
ส่วนกรณีคำาสั่งศาลชั้นต้นที่เห็นว่าคำาอุทธรณ์ของผู้ร้องมีลักษณะประชดประชันศาล จึงให้
ผู้ร้องแก้ไขและยื่นต่อศาลภายใน ๗ วัน ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าศาลไม่ได้แจ้งเหตุผลว่าคำาอุทธรณ์ของผู้ร้องมี
ลักษณะประชดประชันอย่างไร เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถแก้คำาอุทธรณ์ได้นั้น คำาสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้ง
ต่อมาตรา ๔๐ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่ เนื่องจากประเด็น
ดังกล่าวคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านคดีสิทธิมนุษยชน
เพื่อพิจารณาการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม พิจารณา
ดำาเนินการ
๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่
ไม่เป็นธรรมจึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในภาพรวมต่อสำานักงานศาลยุติธรรม สำานักงาน
ศาลปกครอง และกรมพระธรรมนูญ เพื่อพิจารณาถึงรูปแบบและถ้อยคำาหรือข้อความคำาสาบาน
หรือคำาปฏิญาณให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันและมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อ
ให้เกิดความเป็นระบบในทุกชั้นศาลและเพื่อความเป็นสากล โดยรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานควรที่จะ
เป็นการเฉพาะตัวของบุคคลที่กล่าวคำาสาบาน ซึ่งไม่ควรมีการอ้างถึงครอบครัวในทุกศาสนา เพื่อให้
สอดคล้องกับมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
และหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป
๖. คว�มเห็นและมติคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๕ พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบด้วยกับความเห็นและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะอนุกรรมการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม โดยให้มีข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายในภาพรวมต่อสำานักงานศาลยุติธรรม สำานักงานศาลปกครอง และกรมพระธรรมนูญ เพื่อ
พิจารณาตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในภาพรวมข้างต้น และมอบหมายให้สำานักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอทราบและติดตามผลการดำาเนินการเพื่อประเมินผลต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
19
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐