Page 13 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 13
แนวทางในการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความต่อศาลยุติธรรมเป็นไปตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๒ ที่บัญญัติว่า “ก่อนเบิกความ พยานทุกคนต้องสาบานตน
ตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำาปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริง
เสียก่อน เว้นแต่
(๑) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
(๒) บุคคลที่มีอายุต่ำากว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
(๓) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
(๔) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคำาปฏิญาณ”
และในคู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนวิธีพิจารณา
ความอาญา ส่วนพิจารณาคดีในศาลแขวง เล่มที่ ๑ บทที่ ๑๒ การเบิกความของพยานได้มีการระบุ
ตัวอย่างและแบบของคำาสาบานไว้ ดังนี้
๑. ศาสนาพุทธ
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระแก้วมรกต เจ้าพ่อหลักเมือง พระสยามเทวาธิราช และ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริงทั้งสิ้น หากข้าพเจ้าเอาความเท็จ
มากล่าวแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติทั้งปวงจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าโดยพลัน หากข้าพเจ้ากล่าว
ความจริงต่อศาล ขอให้ข้าพเจ้าจงประสบแต่ความสุขความเจริญ”
๒. ศาสนาอิสลาม
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระอัลเลาะห์ว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
ทั้งสิ้น หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดลงโทษข้าพเจ้า หากข้าพเจ้า
กล่าวความจริงต่อศาล ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดตอบแทนข้าพเจ้าด้วยความดีงามทั้งหลายด้วย”
๓. ศาสนาคริสต์
สำาหรับผู้เบิกความเป็นภาษาไทยได้
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระเยซูเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
ทั้งสิ้น หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าวแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติทั้งปวงจงบังเกิดแก่
ข้าพเจ้าโดยพลัน หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงต่อศาล ขอให้ข้าพเจ้าจงประสบแต่ความสุขความเจริญ”
สำาหรับผู้เบิกความเป็นภาษาไทยไม่ได้
“The evidence that I shall give to the Court shall be the truth the whole truth,
and nothing but the truth. (So help me God)”
๔. ทุกศาสนา
“ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะให้การด้วยความสัตย์จริง หากนำาความเท็จมากล่าว ขอให้
มีอันเป็นไปภายในสามวันเจ็ดวัน หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงขอให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ”
ซึ่งในการกล่าวคำาสาบานในข้อ ๔ สามารถใช้ได้กับทุกคน หรือบุคคลที่ไม่นับถือ
ศาสนาใดเลย โดยไม่มีการกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด
12
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐