Page 43 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 43

การศึกษา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นนั้น  หากดูตามเจตนารมณ์ของกฎหมายจะเห็นว่า
                 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีอำานาจหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

                 ขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะจัดโดยรัฐ เอกชน บุคคล ครอบครัว หรือองค์กรใดๆ ต้องพิจารณาว่ามีเจตนารมณ์
                 ของกฎหมายฉบับอื่นๆ ด้วยว่า มีเจตนารมณ์อย่างไร  โดยเฉพาะเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติระเบียบ

                 บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้บัญญัติให้มีการกำาหนดเขตพื้นที่
                 การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  จึงเห็นได้ชัดเจนว่า เจตนารมณ์ที่จะให้สำานักงานเขตพื้นที่

                 การศึกษาประถมศึกษามีอำานาจหน้าที่ในการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
                 และประถมศึกษา

                               ๒.๒)  ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติ
                 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี  ประกาศรายละเอียด

                 เกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่
                 ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ  เมื่อนำากฎหมายนี้มาใช้ในการปฏิบัติ สำานักงานคณะกรรมการการศึกษา

                 ขั้นพื้นฐานได้กำาหนดนโยบายและแนวทางในการรับนักเรียน ก็ได้กำาหนดภารกิจให้สำานักงานเขตพื้นที่
                 การศึกษาประถมศึกษาดำาเนินการในส่วนการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา

                 และสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาดำาเนินการในส่วนของการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
                 โดยตลอด แม้สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะรับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา

                 ปีที่ ๑–๓ ก็เป็นเพียงการจัดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
                 ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษา

                 ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่แบ่งออกเป็นการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับ
                 มัธยมศึกษา

                               ๒.๓)  คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เคยมีมติเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
                 ขั้นพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษา  กรณีโรงเรียนในสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

                 ขอขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
                 ว่า “ให้สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเสนอขอขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

                 เฉพาะพื้นที่พิเศษเท่านั้น ส่วนพื้นที่ปกติให้เสนอเฉพาะกรณีจำาเป็นเท่านั้น โดยให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 ที่ขอขยายชั้นเรียนจัดทำาแผนและเป้าหมายการจัดบริการการศึกษาอย่างมีคุณภาพในระดับที่จะขอขยาย

                 ชั้นเรียนด้วย  ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่า สถานศึกษาในสังกัด
                 สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเพียงพอที่จะรองรับการจัดบริการการศึกษาทุกระดับ

                 อยู่แล้ว ประกอบกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดบริการระดับประถมศึกษาแยกจากระดับมัธยมศึกษา”
                 ซึ่งมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนนี้  ได้แสดงเจตนารมณ์ให้เห็นว่า  สำานักงาน

                 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายให้หน่วยงาน/สถานศึกษาระดับประถมศึกษาและ
                 มัธยมศึกษา มุ่งเน้นการจัดการศึกษาในระดับที่กำาหนดอำานาจหน้าที่ไว้ชัดเจนแล้ว เพื่อให้การ

                 จัดการศึกษาแต่ละระดับได้รับการพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น เมื่อพิจาณาในส่วนนี้ ประกอบกับใน




            42

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48