Page 14 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล กรณีเห็นว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง และผู้ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2516 ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
P. 14

๕.  คว�มเห็นคณะอนุกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติด้�นกฎหม�ย และ
                          สิทธิในกระบวนก�รยุติธรรม

                          คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านกฎหมายและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้

                    พิจารณาคำาร้อง คำาชี้แจง และความเห็นของสำานักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้อกฎหมายต่างๆ แล้วเห็นว่า
                    โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพ

                    ของบุคคลไว้ ซึ่งการจำากัดสิทธิและเสรีภาพจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ
                    แห่งกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่

                    รัฐธรรมนูญนี้กำาหนดไว้และเท่าที่จำาเป็น  และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ
                    นั้นมิได้  นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้บุคคลผู้เป็นทหาร ตำารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่น

                    ของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับ
                    บุคคลทั่วไป  เว้นแต่ที่จำากัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

                    เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
                          กรณีตามคำาร้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า  ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการ

                    แต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง และผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๖  เป็นระเบียบที่ออกโดย
                    มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๖ โดยมิได้อ้างการออกระเบียบโดยอาศัยอำานาจตาม

                    บทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในเรื่องใด  เมื่อพิจารณาถึงสภาพบังคับและความเหมาะสมของระเบียบ
                    นี้แล้ว เห็นว่า  ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง

                    และผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๖ มีการใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๖ เป็นต้นมา
                    ซึ่งระเบียบดังกล่าวอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพการณ์ของประเทศในขณะนั้น และมีลักษณะเป็น

                    นโยบายเพื่อสนับสนุนคนไทยที่ต้องรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของไทยไว้ จึงมุ่งหมายให้ข้าราชการ
                    ลูกจ้าง และผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจ ดำาเนินการเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนทั่วไปในการไว้ผมและการ

                    แต่งกายบางประการ แต่เมื่อเวลาล่วงผ่านมาระยะหนึ่งแล้ว ระเบียบดังกล่าวอาจจะไม่มีความเหมาะสม
                    กับการใช้บังคับในสภาพการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง และ

                    ผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม  ทั้งยังมีประเด็นความหลากหลาย
                    ทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติมไปอีก  นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบ

                    ฉบับนี้ พบว่า เจตนาในการออกระเบียบที่แท้จริงจะเป็นการดำาเนินการในมาตรการเชิงบวก กล่าวคือ
                    ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ  แต่ในเนื้อหาตอนท้ายของระเบียบกลับมีลักษณะที่มีการกำาหนดโทษทางวินัย

                    แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามด้วย ซึ่งเป็นมาตรการเชิงลบ  กรณีจึงเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกิน
                    ความจำาเป็นและกระทบกระเทือนต่อสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

                    แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๒๙ แม้ในหลักการ มีความจำาเป็นที่รัฐบาลจะเห็น
                    สมควรที่จะคงระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้ไว้  แต่ควรที่จะทำาการศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขระเบียบดังกล่าว

                    ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน  โดยอาจพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบางประการตามความจำาเป็น
                    และเหมาะสม และต้องคำานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญด้วย




                                                                                                          13

                                              สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล กรณีเห็นว่าระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง
                                                                         และผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๖ ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19