Page 137 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 137
135
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
หรือความเชื่อของตนโดยการสักการบูชา การปฏิบัติ การประกอบพิธีกรรมและการสอน ไม่ว่าจะโดยลำาพังตัวเอง
หรือในชุมชนร่วมกับผู้อื่น และไม่ว่าต่อสาธารณชน หรือเป็นการส่วนตัว
๒. บุคคลจะถูกบีบบังคับให้เสื่อมเสียเสรีภาพในการมีหรือนับถือศาสนา หรือความเชื่อตามคตินิยม
ของตนมิได้
๓. เสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา หรือความเชื่อของบุคคลอาจอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อจำากัด
เฉพาะที่บัญญัติโดยกฎหมาย และตามความจำาเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย สุขอนามัย หรือ
ศีลธรรมของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของบุคคลอื่นเท่านั้น
ความคิดเห็นทั่วไปฉบับที่ ๒๒ ข้อ ๑๘ (เสรีภาพในความคิดหรือศาสนา) : ICCPR General
Comment No. 22 : Article 18 (Freedom of Thought, Conscience or Religion) เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม
ค.ศ. ๑๙๙๓
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง ซึ่งเป็นคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประจำาสหประชาชาติ มีหน้าที่ในการตรวจสอบรายงานการปฏิบัติ
ตามพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของรัฐภาคี การรับเรื่อง
ร้องเรียนของรัฐภาคี และการให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะแก่รัฐภาคีในการปฏิบัติตามพันธกรณีได้ให้
ความเห็น ข้อ ๑๘ ของกติกาดังกล่าวในสิทธิคัดค้านการรับราชการทหารด้วยความเชื่อทางมโนธรรม (Right
to Conscientious Objection) ในความเห็นข้อที่ ๑๑ โดยมีสาระสำาคัญสรุป ดังนี้
ปัจเจกชนหลายคนได้อ้างสิทธิในการคัดค้านการรับราชการทหารด้วยความเชื่อทางมโนธรรม
โดยอ้างหลักสิทธิเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตามข้อ ๑ และข้อ ๑๘ ที่ได้รับ
การรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง และมีการเรียกร้องสิทธิดังกล่าวมากขึ้น โดยบางรัฐมีกฎหมายให้ยกเว้นการถูกเรียกให้มาเกณฑ์ทหาร
แก่บุคคลที่มีความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่นับถืออย่างแท้จริง และแทนที่ด้วยการจัดทางเลือก
ในการรับใช้ชาติของผู้อ้างสิทธิดังกล่าว แม้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ไม่ได้ประกันสิทธิคัดค้านการรับราชการทหารด้วยความเชื่อทางมโนธรรม แต่คณะกรรมการประจำากติกานี้
เชื่อว่า บุคคลสามารถอ้างสิทธิจากข้อดังกล่าวได้ และเห็นว่าการเกณฑ์ทหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อาวุธ
(Lethal Force) นั้น ขัดกับสิทธิที่ได้รับประกันในข้อ ๑๘ อย่างรุนแรง ซึ่งสิทธิดังกล่าวต้องได้รับการประกัน
ไม่ว่าจะอยู่ในเงื่อนไขใดๆ หรือเป็นสิทธิที่ไม่สามารถลิดรอนได้ (Non-Derogable Right) นั่นเอง และเมื่อสิทธิ
ที่ว่านี้ได้รับการยอมรับโดยกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องไม่มีการแบ่งแยกในกลุ่มผู้คัดค้านการเข้ารับ
การเกณฑ์ทหารโดยอ้างหลักมโนธรรมจากพื้นฐานความเชื่อที่แตกต่างกันแต่ประการใด และจะต้องไม่มี
การเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่คัดค้านการเกณฑ์ทหารโดยอ้างหลักมโนธรรมเพียงเพราะว่า เขาเหล่านั้นไม่สามารถเข้ารับ
การเกณฑ์ทหารได้ และให้รัฐที่ยังมีการเกณฑ์ทหารไม่มีข้อยกเว้นแก่บุคคลที่มีความคิด มโนธรรม และความเชื่อ
ทางศาสนาที่นับถืออย่างแท้จริง พิจารณาจัดทางเลือกในการรับใช้ชาติที่ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจในการสู้รบหรือ
มีลักษณะงานพลเรือนเพื่อประโยชน์สาธารณะ