Page 13 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 13
ทั้งสองฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน ควบคู่กับการจัดทำา
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อนำาไปเป็นข้อมูลประกอบการเสนอ
ร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ กรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน โดยที่ประชุมได้มีความเห็นให้ถอนร่างกฎหมาย
แรงงานทั้งสองฉบับที่เสนอคณะรัฐมนตรีกลับมาพิจารณาใหม่
๒. อำานาจหน้าที่
อาศัยอำานาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ และพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓)
บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่
“เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือ
ข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน” และมาตรา ๑๕ (๘) บัญญัติให้คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่ “เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
และรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับ
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”
เมื่อพิจารณาหลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครอง
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 11
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว