Page 12 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 12
และได้รับการรับรองไว้ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour Organization : ILO) ฉบับที่ ๘๗
และฉบับที่ ๙๘ อันเป็น ๒ ใน ๘ อนุสัญญาหลักของ ILO และ
ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO เป็นทบวงการ
ชำานาญพิเศษของสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกตั้งแต่
เริ่มก่อตั้ง มีการกำาหนดมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศในรูปของ
อนุสัญญา (Conventions) และข้อเสนอแนะ (Recommenda-
tions) ปัจจุบันมีอนุสัญญาทั้งหมด ๑๘๙ ฉบับ ประเทศไทยเป็น
ภาคีอนุสัญญา ๑๕ ฉบับ โดยเป็นภาคีอนุสัญญาหลัก ๕ ฉบับ จาก
จำานวน ๘ ฉบับ โดยอนุสัญญาหลักที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคี ได้แก่
อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ฉบับที่ ๙๘ และฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วย
การไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงานและประกอบอาชีพ
ผู้แทนรัฐบาลไทยได้ให้คำามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไกการ
รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศของสหประชาชาติ
(Universal Periodic Review : UPR) รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗
และฉบับที่ ๙๘ และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นกิจกรรมหนึ่ง นอกจากนี้ การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ เป็นข้อเรียกร้อง
ของขบวนการแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นต้นมา และขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานก็ได้มีการเตรียมการ
ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
10 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน