Page 77 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 77
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 75
หลังจากที่ส่งรายงานผลการดำาเนินการแล้ว รัฐต้องส่งรายงานทบทวนสถานการณ์เป็น
ระยะๆ (periodic reports) โดยส่วนใหญ่จะส่งรายงานนี้ทุกๆ ๔-๕ ปี ตามข้อตกลงของแต่ละอนุสัญญา
รายงานทบทวนสถานการณ์ต้องอธิบายมาตการทางกฎหมาย ทางการบริหาร และทางการ
ตุลาการ ที่รัฐได้ดำาเนินการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา รายงานควร
ประกอบด้วย ปัจจัย หรือปัญหาที่ประสบในการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
๑.๒
จัดทำ�ร�ยก�รประเด็นปัญห� หรือร�ยง�นรูปแบบปัญห�
เพื่อเตรียมคว�มพร้อมสำ�หรับก�รพิจ�รณ�
ก่อนที่จะถึงการพิจารณารายงานประเทศอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้น คณะกรรมการจะจัด
เตรียม “รายการประเด็นปัญหา” และส่งกลับไปให้กับรัฐภาคีสมาชิก
รายการประเด็นปัญหานี้จะอ้างถึง;
v ข้อมูลที่ไม่ได้เขียนไว้ในรายงานประเทศ และ/หรือ
v ข้อมูลที่กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาว่าเป็นประเด็นที่สำาคัญ ในอันที่จะประเมิน
สถานะของรัฐภาคีว่าได้ดำาเนินการตามสนธิสัญญาที่ได้ลงนามไว้ หรือไม่ ประการใด
ผู้เขียนรายงานประเทศต้องตอบคำาถามต่อรายการประเด็นปัญหาเพิ่มเติมจากรายงาน
ประเทศที่ได้ส่งไปแล้ว นอกจากนี้ รายการประเด็นปัญหาถือเป็นแนวทางให้รัฐภาคีเตรียมการสนทนา
กับคณะกรรมการในช่วงการพิจารณารายงานประเทศอย่างเป็นทางการ
ก�รพิจ�รณ�ร�ยง�นประเทศอย่�งเป็นท�งก�ร (Formal Consideration of the Report):
ก�รสนทน�อย่�งสร้�งสรรค์(Constructive Dialogue หมายถึง การสนทนาที่ช่วยให้เกิด
การพัฒนาตามคำาแนะนำาของคณะกรรมการสนธิสัญญา) ระหว่�งคณะกรรมก�รสนธิสัญญ�
และรัฐภ�คีสม�ชิก
คณะกรรมการสนธิสัญญาโดยคณะผู้แทนจากรัฐภาคีสมาชิกปรากฏอยู่ด้วย พิจารณารายงาน
ของรัฐภาคีสมาชิก ระหว่างกระบวนการนี้ คณะผู้แทนรัฐมีโอกาสที่จะตอบข้อซักถามของกรรมการและ
สามารถเสนอข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่สร้างความขัดแย้ง และคณะกรรมการจะไม่ตัดสิน
ว่ารัฐภาคีสมาชิกสอบผ่านหรือไม่ หากแต่เป้าหมายของการสนทนาที่สร้างสรรค์ คือให้เกิดการมี
ส่วนร่วม เป็นการช่วยให้รัฐภาคีสมาชิกให้มีแนวทางในการพยายามนำาหลักการไปปฏิบัติตามสนธิ
สัญญาให้มากและมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น กระบวนการนี้จึงเรียกว่า “การสนทนา
อย่างสร้างสรรค์” (constructive dialogue)