Page 76 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 76
74 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ประกอบด้วยการจัดตั้งระบบและโครงสร้างที่เอื้อต่อการให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ภายใต้
กลไกสนธิสัญญา เพื่อที่จะช่วยรัฐต่างๆ ปฏิบัติพันธกรณีเหล่านี้ สหประชาชาติจึงจัดตั้งคณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญคณะต่างๆขึ้น เรียกว่า “คณะกรรมการสนธิสัญญา (treaty bodies)” ดูแผนภาพที่ ๒.๒
คณะกรรมการสนธิสัญญาเหล่านี้ ดำาเนินการแยกกันตามสนธิสัญญาโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
ติดตามตรวจสอบการทำางานของรัฐภาคีสมาชิกในการปฏิบัติตามสนธิสัญญานั้นๆ ประกอบด้วย
v รับและพิจารณารายงานที่รัฐภาคีสมาชิกจัดส่งเป็นระยะๆ รายงานดังกล่าวจะอธิบาย
ว่ารัฐเหล่านั้นได้นำาสนธิสัญญาไปปฏิบัติตามในประเทศอย่างไร (รายละเอียดอยู่ในส่วน
ถัดไป)
v ร่าง “ข้อเสนอแนะทั่วไป” (General Comments)เพื่อตีความตามเงื่อนไขในสนธิสัญญา
และ
v พิจารณาข้อร้องเรียนหรือข้อสื่อสารจากปัจเจกบุคคลที่กล่าวหารัฐภาคีสมาชิกว่าได้
กระทำาการละเมิดสิทธิของตน โดยมีเงื่อนไขว่า รัฐยอมรับวิธีการร้องเรียนดังกล่าว
พิจ�รณ�ร�ยง�นของรัฐภ�คีสม�ชิก
หน้าที่หลักของคณะกรรมการสนธิสัญญา คือ การทบทวนรายงานสถานการณ์ที่รัฐภาคีสมาชิก
ส่งมาเป็นระยะๆ ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญานั้นๆ เพื่อช่วยเหลือกระบวนการนี้ คณะกรรมการ
สนธิสัญญาได้พัฒนาข้อปฏิบัติและขั้นตอนการพิจารณาอย่างละเอียดขึ้นมา เพื่อติดตามตรวจสอบ
รัฐภาคีสมาชิกนั้นว่า ได้ดำาเนินการตามพันธกรณีตามแต่ละสนธิสัญญาที่ได้ลงนามไว้หรือไม่ และ
ส่งเสริมการนำาไปปฏิบัติให้ดีขึ้นต่อไป
คณะกรรมการสนธิสัญญาพิจารณารายงานของรัฐโดยการประชุมที่ เจนีวา ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ หรือบางกรณีที่ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รายละเอียดกระบวนการพิจารณา
รายงานประเทศตามกลไกสนธิสัญญา มีดังต่อไปนี้
๑.๑
รัฐภ�คีร�ยง�นผลก�รดำ�เนินง�นเบื้องต้น (initial report)
หรือร�ยง�นทบทวนสถ�นก�รณ์เป็นระยะๆ (periodic report)
ในแต่ละสนธิสัญญา รัฐภาคีสมาชิกมีภาระผูกพันที่ต้องส่งรายงานอย่างโดยสม่ำาเสมอให้กับ
คณะกรรมการสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิทธิเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติอย่างไร ภายใน
๑ ปี หลังการให้สัตยาบัน (ratifying) หรือการภาคยานุวัติ (acceding) สนธิสัญญา รัฐภาคีต้องส่ง
รายงานผลการดำาเนินงานเบื้องต้น (initial report) ตามมาตรการที่ได้ลงมติยอมรับว่าจะทำาให้เกิดผล
ต่อแต่ละสิทธิในแต่ละอนุสัญญา และบ่งชี้ว่ามีความก้าวหน้าในการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างไร