Page 19 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 19

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 17







                     ทางความคิด ในความเชื่อ ในการแสดงออก และในการเลือกนับถือศาสนา  นอกจากนั้น ในอันที่จะ

                     ได้มาซึ่งปัจจัยที่จำาเป็นสำาหรับการดำารงชีวิตของมนุย์และเพื่อที่บุคคลจะสามารถใช้และพึงพอใจใน
                     สิทธิเสรีภาพเหล่านั้นได้ เขาจำาเป็นต้องสร้างความสามารถของเขาได้ด้วย เช่น ต้องได้รับการศึกษา

                     และมีสุขภาพที่ดี เป็นต้น
                            สิทธิมนุษยชนเป็นการประกอบส่วนของความจำาเป็นและเสรีภาพเหล่านี้ ซึ่งโดยการยอมรับ

                     ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิทธิมนุษยชน ทำาให้เข้าใจและยอมรับว่ารัฐมีพันธกรณี หรือหน้าที่ในการสร้าง

                     สภาพการณ์ที่เอื้ออำานวยให้ทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งศักยภาพของเขาตนได้
                            ส่วนความต้องการ (wants) เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากความจำาเป็น เพราะเป็นความปรารถนา

                     ของบุคคลที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่หรือฐานะที่ดีกว่าเดิม รัฐไม่มีพันธกรณีหรือหน้าที่ที่จะตอบสนอง
                     หรือเติมเต็มต่อความต้องการเหล่านี้  หากแต่ว่ารัฐมีเพียงพันธกรณีที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ

                     การที่ทุกคนจะสามารถใช้สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                     ได้โดยไม่มีการเลือกประติบัติ (ปฏิบัติ) และโดยการนั้นได้มาซึ่งความต้องการด้วยตัวของเขาเอง






                        ๗.      มีก�รนำ�เรื่องสิทธิมนุษยชนด้�นต่�งๆ ม�ประมวลไว้ที่ใดบ้�ง





                            ในระดับชาติ สิทธิต่างๆ นั้นมีการนำามาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย พระราชบัญญัติ
                     พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ คำาตัดสินของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน นโยบายแห่งรัฐ

                     เป็นต้น  สำาหรับประเทศไทย ในหมวด ๑ หมวด ๓ และหมวด ๕ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
                     ไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้เชิดชูสิทธิเสรีภาพ และพันธกรณีของรัฐด้านสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย

                            ในระดับนานาชาติ และระดับภูมิภาค สิทธิก็ได้รับการนำามาประมวลไว้ในข้อตกลงหรือ

                     หนังสือสัญญา โดยใช้ชื่อแตกต่างกันไป เช่น ปฏิญญา สนธิสัญญา อนุสัญญา เป็นต้น

                            นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา องค์การสหประชาชาติได้จัดทำาตัวบทกฎหมายจำานวนมาก
                     ในรูปแบบของ สนธิสัญญา อนุ อนุสัญญา หลักการ และปฏิญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

                     (ดูแผนภาพที่หน้า ๑๘)
                            ในระดับภูมิภาคต่างๆ เช่น ยุโรป อเมริกา และอัฟริกาก็ได้จัดทำาตราสารแม่บทด้านสิทธิ

                     มนุษยชนในระดับภูมิภาคของตน เช่น อนุสัญญาแห่งทวีปยุโรปด้านสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ. ๑๙๕๐

                     (The European Convention on Human Rights 1950) อนุสัญญาแห่งทวีปอเมริกาด้านสิทธิมนุษยชน
                     ปีค.ศ. ๑๙๖๙ (American Convention on Human Rights 1969) และกฎบัตรแห่งทวีปอัฟริกาด้าน
                     สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ปีค.ศ. ๑๙๘๑ (African  Charter  on  Human  and  People  Rights

                     1981) เป็นตัว  (ดูแผนภาพที่หน้า ๒๑)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24