Page 8 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 8
บทสรุปสำ�หรับผู้บริห�ร
(Executive Summary)
รายงานการศึกษาเรื่อง “โทษประหารชีวิตในประเทศไทย” พบว่าโทษประหารชีวิตเป็นการ
ลงโทษผู้กระทำาผิดที่มีกำาหนดโทษสูงสุดของสังคมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยในอดีตเป็นการ
ลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายทารุณเพื่อแก้แค้นทดแทนต่อผู้กระทำาผิดเป็นสำาคัญ รวมทั้งเพื่อเป็นการข่มขู่
ยับยั้งและการตัดโอกาสในการกระทำาผิด เพื่อเป็นการตอบสนองต่อรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อย
และความเป็นธรรมในสังคม หากแต่ปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการลงโทษได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้น
การลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดเป็นสำาคัญ ประกอบกับการลงโทษประหารชีวิตเพื่อการแก้แค้น
ทดแทนไม่ได้ทำาให้สังคมเกิดประโยชน์สูงสุดแต่ประการใด นอกจากนี้ การใช้โทษประหารชีวิตไม่
สามารถมีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง รวมทั้งกระแสการให้ความสำาคัญต่อการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของประชาชนในสังคม ทำาให้ประเทศส่วนใหญ่ได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
เพราะการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการกระทำาที่ขัด
ต่อหลักของศาสนา ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจำานวนมากกว่าสองในสามได้ยกเลิกโทษ
ประหารชีวิตในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ
สำาหรับปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก คือ
ปัจจัยทางด้านการเมือง ได้แก่ ระดับความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ลักษณะของผู้นำาทางการเมือง
ที่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยสูง รวมทั้งกล้าตัดสินใจในการยกเลิกโทษประหารชีวิต ประสบการณ์
ของประเทศเกี่ยวกับสงคราม และแรงกดดันจากต่างประเทศให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยเฉพาะ
แรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจจากนานาชาติ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคง
โทษประหารชีวิต โดยมีพัฒนาการของการประหารชีวิตตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันดังเช่น
ประเทศต่าง ๆ กล่าวคือ มีการประหารชีวิตด้วยวิธีการที่มีความโหดร้ายทารุณในอดีต เพื่อการแก้แค้น
ทดแทนเป็นสำาคัญ จนกระทั่งปัจจุบันที่มีการประหารชีวิตที่มีมนุษยธรรมมากขึ้น ตามแนวคิดในการลงโทษ
ผู้กระทำาผิดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
ช