Page 174 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 174

173


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                                    ๖.๒  ข้อเสนอแนะ


                             เพื่อให้ได้ประโยชน์จากตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่
                     คณะผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นในการติดตามตรวจสอบ ประเมินการทำางานของรัฐบาลให้ได้ผลเป็นจริง

                     ขึ้นตามที่บุคคลมีสิทธิดังที่รับรองไว้ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้น คณะผู้ศึกษามี
                     ข้อเสนอแนะต่อ กสม. และหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                            ๑. กสม. ควรจะต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือกำาหนดตัวบุคคลที่ทำาหน้าที่รวบรวมและประมวล

                              ข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูล หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ในลักษณะที่
                              เป็น Clearing House ขึ้นโดยเฉพาะ

                            ๒. กสม. ควรจะออกแบบ ประเภท ลักษณะ ของข้อมูลที่ต้องการ ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และ

                              ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวมทั้งกำาหนด “กระบวนการการรายงานข้อมูล (Reporting Procedure)”
                              ตลอดจนระยะเวลาในการรายงาน เพื่อให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูล หรือหน่วยงาน
                              ที่จัดเก็บข้อมูล ส่งข้อมูลให้กับ กสม.  ทั้งนี้ กสม. มีอำานาจในการเรียกให้หน่วยงานรัฐส่ง

                              ข้อมูลให้กับ กสม. ตามกฎหมายอยู่แล้ว

                            ๓. กสม. ควรประสานงานและขอความร่วมมือกับสำานักงานสถิติแห่งชาติ (สช) ซึ่งเป็น
                              หน่วยงานกลางที่ทำาการสำารวจข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในการกำาหนด

                              ลักษณะของข้อมูล หรือออกแบบความต้องการประเภทของข้อมูล เพื่อให้สำานักงานสถิติ
                              แห่งชาติสำารวจและจัดเก็บข้อมูล ที่ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เกณฑ์ตัวชี้วัดทางด้าน
                              สิทธิมนุษยชน

                            ๔. กสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลควรเผยแพร่ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนให้กับ

                              ประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะเข้าใจองค์ประกอบและสาระแห่งสิทธิอันเป็นประโยชน์ในการ
                              ปกป้องสิทธิของตนเอง และเพื่อประโยชน์ในการติดตามการดำาเนินงานของรัฐในด้าน

                              สิทธิมนุษยชน

                            ๕. กสม. ควรจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ของ กสม. โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่
                              ที่เกี่ยวข้องในการประเมินตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่วินิจฉัย
                              คำาร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                            ๖. กสม. และหน่วยงานของรัฐควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อความเข้าใจให้กับ

                              หน่วยงานต่างๆ เพื่อนำาตัวชี้วัดไปใช้ในการดำาเนินงานและควรมีการจัดทำาคู่มือ (Manual)
                              หรือคำาแนะนำา (Guideline) ในการนำาไปใช้สำาหรับหน่วยงานระดับปฏิบัติการขึ้น

                            ๗. หน่วยงานทุกหน่วยของรัฐควรจัดทำาตัวชี้วัดระดับกระทรวงและระดับหน่วยงานขึ้นเอง

                              โดยให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดเบื้องต้นฯ นี้ และจัดลำาดับความสำาคัญของตัวชี้วัดให้สอดคล้อง
                              กับภาระหน้าที่ของหน่วยงาน  นอกจากนั้น หน่วยงานควรจะต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล

                              เพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายที่ต้องการชี้วัด
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179