Page 173 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 173

172


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                         การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการสร้าง
                  เครื่องมือในการตรวจสอบการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลตามที่ประเทศไทยมีพันธกรณี
                  ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศในการคุ้มครองบุคคล


                         ตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่คณะผู้ศึกษาจัดทำาขึ้น ประกอบด้วยตัวชี้วัด

                  ทั้งสิ้น ๔๒๐ ตัว  แบ่งเป็นตัวชี้วัดหลัก จำานวน ๑๙๔ ตัว และตัวชี้วัดรอง จำานวน ๒๒๖ ตัว หรือสามารถ
                  แบ่งเป็นตัวชี้วัดโครงสร้าง ๑๐๑ ตัว ตัวชี้วัดกระบวนการ ๑๖๕ ตัว ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ๑๕๔ ตัว


                         ตัวชี้วัดที่คณะผู้ศึกษาได้ดำาเนินการพัฒนาขึ้นนี้ใช้กรอบการดำาเนินการที่ได้แนะนำาโดย
                  สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นแนวทาง โดยการศึกษาพันธกรณี
                  ระหว่างประเทศ สาระแห่งสิทธิในมิติต่างๆ เพื่อให้ตัวชี้วัดนั้นได้บ่งชี้ถึงพันธะหน้าที่ด้านต่างๆ ของรัฐ

                  ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้นนี้ มิได้ประสงค์ที่จะสร้างเกณฑ์สิทธิมนุษยชนที่เป็นอุดมคติของ
                  สิทธิมนุษยชน แต่ตั้งอยู่บนหลักการทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อให้นำา

                  ไปสู่การยอมรับและใช้ได้จริง

                         สิ่งที่ควรคำานึง ก็คือ ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นเพียงเครื่องมือในการตรวจสอบการดำาเนินงาน

                  ของรัฐบาลเท่านั้น สิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และรัฐจะเคารพ ปกป้องคุ้มครองสิทธิประชาชน
                  หรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเป็นสำาคัญ


                         อย่างไรก็ตาม ถ้าสามารถทำาให้ประชาชนได้รู้ว่าตนเองมีสิทธิอย่างไร รัฐมีหน้าที่อย่างไร
                  และตนเองจะใช้ช่องทางใดในการเรียกร้องเยียวยาสิทธิ ก็จะช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิ และช่วย

                  ให้มีการยกระดับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนให้สูงขึ้น  ดังนั้น การสร้างจิตสำานึกให้รักษาสิทธิ
                  และสร้างกระบวนการการติดตาม ตรวจสอบ โดยภาคประชาชนจึงมีความสำาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า

                  การตรวจสอบโดย กสม.

                         คณะผู้ศึกษาหวังว่า ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้นนี้นอกจากจะเป็นเครื่องมือให้ กสม.

                  แล้วยังจะเป็นเครื่องในการติดตาม ตรวจสอบการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยภาคประชาสังคม
                  ได้อีกด้วย


                         ตัวชี้วัดที่จัดทำาขึ้นนี้ไม่ใช่ตัวชี้วัดชุดสุดท้าย หรือตัวชี้วัดที่ใช้ได้ตลอดไป แต่จะต้องมีการพัฒนา
                  เสริม หรือปรับให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีพลวัตรสูง และให้สอดคล้องกับ
                  พันธกรณีของรัฐที่จะต้องส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นตามลำาดับ


                         สิ่งสำาคัญไม่หย่อนไปกว่าการกำาหนดตัวชี้วัดฯ ก็คือ จะต้องมีการพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูล และ

                  การรายงานข้อมูลและหลักฐานด้านต่างๆ ที่จำาเป็นต่อการวิเคราะห์ ประเมิน เพื่อสนับสนุนในการ
                  ออกแบบกำาหนดตัวชี้วัดเพื่อให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

                  ของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178