Page 68 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 68
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
หรือกล่าวคำาปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน” และตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๑ บัญญัติว่า “ผู้ใดขัดขืนคำาสั่งของศาล
ให้สาบาน ปฏิญาณให้ถ้อยคำา หรือเบิกความ ต้องระวางโทษจำาคุก
ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ” ซึ่งจาก
บทบัญญัติของกฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่จะให้การต่อศาล
ต้องกล่าวคำาสาบานตนหรือกล่าวคำาปฏิญาณก่อนเบิกความ หากไม่ปฏิบัติตาม
จะต้องได้รับโทษตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ซึ่งในการกล่าว
คำาสาบานหรือกล่าวคำาปฏิญาณจะเป็นไปตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี
ที่แต่ละคนนับถือ โดยมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเชื่อและการเคารพ
ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ และเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือของพยาน
ซึ่งศาลได้กำาหนดรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของแต่ละศาสนาเพื่อให้เกิด
ความสะดวกในการกล่าวคำาสาบานหรือการปฏิญาณ ซึ่งตามหลักนิติธรรม
การกล่าวคำาสาบานของพยานควรที่จะเป็นการกล่าวคำาสาบานที่เป็น
การเฉพาะตัวบุคคลที่กล่าวคำาสาบาน ซึ่งไม่ควรมีการอ้างถึงครอบครัว
ในทุกศาสนา และผลจากการกล่าวคำาสาบานก็ควรที่จะเกิดกับพยานที่
กล่าวคำาสาบานเท่านั้นไม่ควรให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัว
ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายในภาพรวมต่อสำานักงานศาลยุติธรรม สำานักงานศาลปกครอง
และกรมพระธรรมนูญ ในการพิจารณาถึงรูปแบบและถ้อยคำาหรือข้อความ
คำาสาบานหรือคำาปฏิญาณให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันและมีแนวทาง
การปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระบบ
ในทุกชั้นศาลและเพื่อความเป็นสากล โดยรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานควร
66