Page 67 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 67
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ร้องได้มีหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สรุปได้ว่า ผู้ร้องได้เบิกความเป็นพยานต่อศาลยุติธรรมแห่งหนึ่ง โดยข้อความ
ในแบบพิมพ์ของศาลให้ผู้ร้องสาบานว่า “หากข้าพเจ้า (พยาน) เอาความเท็จ
มากล่าวอ้างแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติทั้งปวง จงเกิดแก่
ข้าพเจ้า (พยาน) และครอบครัว (พยาน) โดยพลัน” ซึ่งการกล่าวคำาสาบาน
ตามแบบพิมพ์ดังกล่าวมีการกล่าวถึงภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว
ผู้ร้องเห็นว่า การที่ตนเป็นผู้กล่าวคำาสาบานแต่เหตุใดจึงต้องมีการกล่าวถึง
ผลที่จะเกิดกับคนในครอบครัว ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลในครอบครัว
และขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ อีกทั้งผู้ร้องเห็นว่า การกล่าวคำาสาบานก่อนเบิกความ
ของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน โดยแบบพิมพ์คำากล่าวสาบานตน
ก่อนเบิกความของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีข้อความที่กล่าวถึงครอบครัว
แต่แบบพิมพ์คำากล่าวสาบานตนก่อนเบิกความของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม
กลับไม่มีข้อความที่กล่าวถึงครอบครัว ผู้ร้องเห็นว่า การกำาหนดข้อความ
ตามแบบพิมพ์คำากล่าวสาบานตนก่อนเบิกความของแต่ละศาสนาที่มี
ความแตกต่างกัน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยถือเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนา
ตามนัยมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นธรรมได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
โดยตลอดแล้วเห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้อง
สาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน
65