Page 209 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 209

200


                         (๔) เปนบุคคลลมละลาย

                         (๕) เปนคนไรความสามารถหรือคนเสมือนไรความสามารถ
                         (๖) ตองคําพิพากษาถึงที่สุดใหจําคุก แมวาจะมีการลงโทษ เวนแตเปนโทษสําหรับความผิดที่ได
                  กระทําโดยประมาทความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
                         (๗) มีลักษณะตองหามตามมาตรา ๘

                         (๘) พนจากการเปนผูแทนสภาหอการคาแหงประเทศไทย ผูแทนสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย
                  ผูแทนสมาคมที่มีวัตถุประสงคในการคุมครองผูบริโภค หรือผูแทนสมาคมการคาที่มีวัตถุประสงคในการ
                  สงเสริมการประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสง ในกรณีที่ไดรับแตงตั้งในฐานะนั้น
                         มาตรา ๑๑  เมื่อกรรมการตามมาตรา ๗ (๓) และ (๔)  พนจากตําแหนงกอนวาระใหคณะรัฐมนตรี

                  แตงตั้งผูทรงคุณวุฒิอื่น หรือผูแทนของสถาบันหรือองคกรเอกชนเปนกรรมการแทน เวนแตวาระดํารง
                  ตําแหนงของคณะกรรมการจะเหลือไมถึงเกาสิบวัน และใหกรรมการซึ่งไดรับแตงตั้งใหดํารงตําแหนงแทนอยู
                  ในตําแหนงเทากับวาระที่เหลืออยูของกรรมการซึ่งทดแทน

                         ในระหวางที่ยังไมมีการแตงตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง ใหกรรมการเทาที่เหลืออยูปฏิบัติหนาที่
                  ตอไปได และใหถือวาคณะกรรมการประกอบดวยกรรมการเทาที่เหลืออยู
                         มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอํานาจและหนาที่ดังตอไปนี้
                         (๑) กําหนดนโยบาย มาตรการและแผนการจัดระบบการประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสง การ
                  ปองกันและแกไขปญหาที่มีผลกระทบตอผูประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสง ผูผลิตสินคา เกษตรกร หรือ

                  ความเปนอยูของประชาชน ชุมชนและสิ่งแวดลอม
                         (๒) ใหคําแนะนําตอรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
                         (๓) เสนอแนะตอรัฐมนตรีเพื่อกําหนดนโยบายสนับสนุน สงเสริม และพัฒนาธุรกิจคาปลีกหรือคา

                  สงรายยอยดั้งเดิมใหมีการเชื่อมโยงเปนเครือขายธุรกิจหรือรวมกลุมดําเนินกิจกรรมทางการตลาดเพื่อลด
                  ตนทุนสินคา คาขนสง ใหเกิดประสิทธิภาพและมีความเขมแข็ง ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑสินคา เพื่อ
                  ประโยชนในการประกอบธุรกิจ และเพื่อใหกรมพัฒนาธุรกิจการคาดําเนินการตามนโยบายสนับสนุน
                  สงเสริม และพัฒนาธุรกิจคาปลีกหรือคาสงรายยอยดั้งเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแลว

                         (๔) เชิญบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาใหคําอธิบาย คําแนะนํา หรือความเห็น
                         (๕) มีคําสั่งใหบุคคลที่เกี่ยวของมาใหขอเท็จจริงหรือคําชี้แจงเปนหนังสือ
                         (๖) วางมาตรการในการกําหนด อนุญาต เพิกถอนอนุญาต และการควบคุมธุรกิจคาปลีกหรือคาสง
                         (๗) กําหนดหลักเกณฑสําหรับการดําเนินงานของพนักงานเจาหนาที่ เพื่อประโยชนในการ

                  ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้
                         (๘) ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกําหนดใหเปนหนาที่ของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจคาปลีก
                  หรือคาสง
                         ทั้งนี้ คณะกรรมการตองพิจารณาทบทวนการบังคับใชตามพระราชบัญญัตินี้ อยางนอยครั้งหนึ่งใน

                  ทุกรอบระยะเวลาหนึ่งปแตวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช แลวทําความเห็นเสนอตอรัฐมนตรี
                         มาตรา ๑๓ คณะกรรมการอาจแตงตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อการพิจารณาและเสนอความเห็นหรือ
                  ปฏิบัติการอยางหนึ่งอยางใดที่มอบหมาย
                         ใหนําความในมาตรา ๘ มาใชบังคับกับลักษณะตองหามของอนุกรรมการโดยอนุโลม

                         มาตรา ๑๔ ใหนํากฎหมายวาดวยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองมาใชบังคับกับการพิจารณา
                  ทางปกครอง การประชุม และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการดวยโดยอนุโลม
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214