Page 93 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 93

82


                      มาตรา92 และได้ท าร้ายร่างกายผู้ถูกละเมิดเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจโดยมีผู้ร้องและ

                      ญาติผู้ร้องพบเห็นร่องรอยบาดแผลและสภาพร่างกายถูกท าร้ายอย่างหนักตามรายงานการตรวจสอบ

                      ที่ 3/2549, 116/2550, 186/2550, 459/2550,197/2552, 205/2552,332/2552 และ 546/2552
                                      วิธีที่ 5 คือ การท า บันทึกการจับกุมไม่ละเอียดเพียงพอที่จะให้ผู้ถูกจับเข้าใจ

                      ในการต่อสู้คดีได้ และมีการใช้ค าพูดจูงใจเพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพ ตามรายงานการตรวจสอบที่ 5/2547

                                      วิธีที่ 6  คือ การไม่แจ้งสิทธิและไม่ให้ผู้ต้องหาใช้สิทธิแจ้งญาติ  ตามรายงานการ

                      ตรวจสอบที่ 18/2546 และ 24/2549

                                      วิธีที่ 7 คือ การไม่ให้โอกาสผู้ต้องหาติดต่อญาติหรือบุคคลไว้วางใจทราบ  ซึ่งจาก
                      การค้นพบยาเสพติด และจับกุม ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาติดต่อญาติ หรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจ

                      ทราบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา               83 วรรค 2   ตามรายงาน

                      การตรวจสอบที่ 24/2547 และ 6/2548

                                  5.  ประเภทการควบคุม  มีวิธีการละเมิด 5 วิธี

                                      วิธีที่ 1 คือ การควบคุมผู้ต้องหาไว้ก่อนที่จะออกหมายจับ  ซึ่งการออกหมายจับ
                      หลังจากจับกุมมาแล้ว 1  วัน เป็นการจับและควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมาย

                      วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา78 และ มาตรา 90 ตามรายงานการตรวจสอบที่ 23/2547 และ 459/2550

                                      วิธีที่ 2  คือ การควบคุมผู้ต้องหาต่างด้าวซึ่งกักขังแทนค่าปรับเสร็จแล้ว ไม่ปล่อย

                      ตัวหรือด าเนินการส่งกลับประเทศต่อไป ตามรายงานการตรวจสอบที่ 492/2551 และ 332/2552
                                      วิธีที่ 3 คือ การน าตัวผู้ต้องหาไปควบคุมโดยมิชอบโดยไม่น าส่งพนักงานสอบสวน

                      โดยทันที  เนื่องด้วยการควบคุมตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรา      มยาเสพติด  ฯ นั้น

                      ให้เจ้าพนักงานผู้จับ มีอ านาจท าการควบคุมผู้ถูกจับได้  3  วัน เพื่อการสอบสวนเท่านั้นจะควบคุม

                      ด้วยเหตุอื่นไม่ได้ และจากนั้นต้องน าตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อด าเนินคดีทันที   ตามรายงานการ
                      ตรวจสอบที่ 18/2546, 24/2549 และ 130/2549

                                      วิธีที่ 4 คือ การไม่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังในห้องควบคุม เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาใน

                      ห้องควบคุมท าร้ายกันถึงแก่ความตาย ตามรายงานการตรวจสอบที่ 4/2546

                                      วิธีที่ 5 คือ การใส่เครื่องพันธนาการเกินกว่ากรณีจ าเป็นในสถานีต ารวจ ในคดีที่

                      ผู้ต้องหามอบตัว ตามรายงานการตรวจสอบที่ 25/2545
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98