Page 81 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 81
ปัญหานำ้าท่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสำารวจสถานการณ์นำ้าท่วมในบริเวณ
พระโขนงและลาดพร้าว เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ เนื่องจากเกิดปัญหานำ้าท่วมขัง
มาเป็นเวลานานกว่าสองเดือน วัดความสูงได้ ๕๗๖ มิลลิเมตร ในเขตบางกะปิ พระโขนง ห้วยขวาง
มีนบุรี และธนบุรี ทำาให้มีความสูญเสียประมาณ ๖,๖๐๐ ล้านบาท ในการแก้ปัญหานำ้าท่วมนั้นพระองค์มี
พระราชดำาริให้ขุดลอกคลองธรรมชาติบางสายและขุดลอกท่อระบายนำ้าใต้ถนน เพื่อให้นำ้าไหลได้สะดวก
และซ่อมแซมท่อประปา ครั้งนั้นพระองค์มีพระราชดำาริให้แก้ปัญหาโดยเร็ว โดยสร้างประตูนำ้าในคลอง
แสนแสบ ตรงจุดเชื่อมต่อคลองบางกะปิ
ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากนำ้าท่วมครั้งนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำาเนินลุยนำ้าไป
ตามตรอกและถนน ทรงตรวจความคืบหน้าของโครงการบรรเทานำ้าท่วมในหลายพื้นที่โดยไม่ทรงรังเกียจ
พระองค์ทรงระวังเสมอว่าการแก้ปัญหาต้องกระทำาโดยไม่สิ้นเปลืองทรัพย์และทรัพยากร ทรงแนะทาง
แก้ไขให้ขุดคลองขนาดเล็ก โดยมีถนนขนาบสองข้างให้มีพื้นที่สีเขียวระหว่างถนนกับคลอง เพื่อประหยัด
งบประมาณ คลองขนาดเล็กจะมีประโยชน์มากกว่าทางนำ้าขนาดใหญ่ พระองค์ทรงตรวจงานระบายนำ้า
และทรงสังเกตการสูบนำ้า กับโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดช่วยนำ้าระบายให้รวดเร็วขึ้น พร้อมกับมีโครงการ
แก้มลิง ด้วยการขุดดินเป็นแอ่งใหญ่เหมือนแก้มลิงใช้เก็บนำ้าไว้เพื่อลดปัญหานำ้าท่วมด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓-๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทดลองปลูกต้นไม้ป่านานาพันธ์ุที่นำามาจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศขึ้นภายในสวนจิตรลดา
เพื่อให้เป็นป่าสาธิตสำาหรับมาตรการอนุรักษ์ป่าไม้และศึกษาภาวะแวดล้อม รับสั่งให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปลูกพันธ์ุไม้ต่างๆ จนถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พันธุ์ไม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในป่าเมืองไทยแห่งหนึ่ง
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 81