Page 86 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 86
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำาริแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อศึกษา
การทำาฝนเทียมในประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมการเกษตร
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับสนองพระราชดำาริเข้าศึกษาเบื้องต้นถึงวิธีการเลี้ยงเมฆ
จนพุทธศักราช ๒๕๑๒ จึงจัดตั้งหน่วยงานศึกษาภาคสนามในการเร่เมฆให้กลายเป็นฝนในพื้นที่
ทดลองที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอำาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีผลแตกต่าง
ฝนไม่ตกตรงเป้าหมาย แต่ทรงมิท้อถอยและในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ รัฐบาลได้สนับสนุนให้มี
การศึกษาทดลองโครงการทำาฝนเทียมเพื่อสนองพระราชดำาริ โดยทำาการวิจัยและใช้แหล่งต้นนำ้า
ของอ่างเก็บนำ้าเขื่อนภูมิพลและอ่างเก็บนำ้าเขื่อนอุบลรัตน์ จัดโครงการวิจัยและพัฒนาการทำา
ฝนเทียมในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อมีปัญหาฝนแล้ง พระองค์ทรงตั้งคณะปฏิบัติการ
ฝนหลวงดำาเนินการทันทีในภาคกลางและภาคใต้ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมา พุทธศักราช ๒๕๑๔
จึงตั้งสำานักงานปฏิบัติการฝนหลวง ทำาหน้าที่ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบ
สภาวะแห้งแล้ง และศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำาฝนหลวง จนพุทธศักราช ๒๕๓๕
คณะรัฐมนตรีจึงตั้งสำานักฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นหน่วยงานเดียวกัน ปัจจุบันการทำาฝนหลวง
ที่นำาสารเคมีผสมขึ้นโปรยบนอากาศให้เมฆจับตัวและใช้กระบวนการซูเปอร์เซอร์วิสเพื่อโจมตี
กลุ่มเมฆที่อ้วนเต็มที่นั้น ได้ทำาให้ฝนตกได้ตามต้องการ นับเป็นความสำาเร็จที่ทำาให้ “ฝนหลวงพระราชทาน”
สามารถแก้ปัญหาความแห้งแล้งอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
86 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น