Page 79 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 79

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นี้ได้ดำาเนินการอนุรักษ์ป่าชายเลนระหว่างบ่อเลี้ยงกุ้งและป่าชายเลน
               มีการทำาสวนเพาะชำาที่ป่าชายเลน ขยายพันธ์ุพืชป่าชายเลน  ทำาให้อ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งอาหารและ
               เป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์นำ้าหลายชนิด  รากของพืชป่าชายเลนได้ทำาหน้าที่บำาบัดนำ้าตามธรรมชาติโดย

               เก็บกักตะกอน และดูดซึมสารอาหารละลายที่ปล่อยมาจากบ่อกุ้งด้วย

                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นว่าเกษตรกรควรเรียนรู้ด้วยตนเองว่าจะอนุรักษ์

               สิ่งแวดล้อมและดินอย่างไร ได้พระราชทานคำาแนะนำาให้นักสำารวจศึกษาพันธุ์พืชที่คายออกซิเจน
               ออกมาในระดับสูงก่อน  เพื่อวางแผนซึ่งจะใช้พันธ์ุพืชเหล่านั้นปรับความสมดุลของบรรยากาศ

               ระหว่างออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์

                      สภาพโดยทั่วไปของประเทศระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๒๕–๒๕๒๘ มีการตัดไม้ทำาลายป่า
               ในประเทศเป็นจำานวนมากเนื่องจากมีการทำาไร่เลื่อนลอย ตัดไม้เผาไม้ให้มีพื้นที่เพาะปลูก จนหน้าดิน

               ถูกนำ้าฝนตกชะลงเป็นตะกอนในแม่นำ้าลำาคลอง มีผลกระทบกับเขื่อน ทำาให้พื้นดินสูญเสียหน้าดิน
               เกิดความเสียหาย จนเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีชดเชยหน้าดินที่อุดมด้วยธาตุอาหารจากธรรมชาติ


                      การอนุรักษ์ป่าไม้จึงมีความจำาเป็นเพื่อให้เกิดความสมดุลจนมีพื้นที่ป่าร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่
               ประเทศ  พระองค์มีพระราชดำาริการปลูกป่าขึ้น  โดยพระองค์ทรงเริ่มปลูกป่าในสวนจิตรลดา
               เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕


                      พระราชดำาริในเรื่องป่าไม้ที่พระองค์มีพระราชประสงค์ให้รัฐบาลจัดการนั้น ก็คือ
                             “สมควรที่จะปลูกแบบป่าสำาหรับใช้ไม้ หนึ่ง ป่าสำาหรับใช้ผล หนึ่ง ป่าสำาหรับ

                      ใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้สำาหรับ
                      ได้ประโยชน์ดังนี้ ในคำาวิเคราะห์ของกรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ เป็นสวนหรือจะ

                      เป็นสวนมากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อต้นนำ้าลำาธารนั้น ป่าไม้
                      เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตาม นั่นแหละป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะ
                      ทำาหน้าที่เป็นป่า คือ เป็นต้นไม้ และทำาหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำาหรับเป็นผลที่มา

                      เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้”

                      การปลูกป่านั้นได้รับความสนใจและร่วมกันปลูกตามวาระต่างๆ ตามโอกาส โดยเฉพาะ
               วันเข้าพรรษา ถือเป็นวันปลูกป่าประจำาปี โดยมีการปลูกต้นไม้สามประเภทเพื่อประโยชน์สี่อย่าง

               คือ เป็นป่าใช้ไม้ เป็นป่าใช้ฟืน และเป็นป่าสวนผลไม้ ส่วนประโยชน์ที่สี่นั้นให้ราษฎรได้ใช้ชีวิตประจำาวัน
               ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นป่ายั่งยืน


                      ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  มีพระราชเสาวนีย์ว่า  พระบาทสมเด็จ
               พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนำ้า พระองค์จะทรงเป็นป่า จึงมีการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติกันขึ้นอีกครั้ง

               ในวันพระเฉลิมพระชนมพรรษา ทำาให้มีป่าไม้ใหม่ขึ้นชดเชยป่าที่สูญเสียไป เพื่อแก้ไขปัญหาและ
               ผลกระทบที่ทำาให้เกิดภาวะเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและฝนแล้งแผ่นดินแห้ง ฝนตกนำ้าท่วมเร็ว
               ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศ หลังจากที่ปล่อยให้ราษฎรตัดไม้ทำาลายป่ามาช้านาน


                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  79
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84