Page 138 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 138
ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๒ คือ ศีล เป็นคำาที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศีล บาลีใช้ว่า สีล แปลว่า ปรกติ
หมายถึง ความปรกติของกายและวาจา การรักษาศีล หมายถึง การรักษากายวาจาให้เป็นปรกติ ไม่ก้าว
ล่วงไปทำาร้ายหรือทำาความเดือดร้อนให้ผู้ใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัด
อยู่ เป็นนิจ และเพื่อให้มีเวลารักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ จึงได้ทรงสละราชสมบัติออกทรงพระผนวช
ณ วัดบวรนิเวศวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ และ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสำาเร็จราชการแทนพระองค์
ในช่วงที่พระองค์ทรงพระผนวชนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ อย่าง
เคร่งครัด มิได้มีศีลข้อใดด่างพร้อย ในตอนเช้าได้เสด็จออกทรงพระดำาเนินด้วยพระบาทเปล่า ทรงรับ
บิณฑบาตตามกิจของภิกษุ และได้เสวยอาหารบิณฑบาตจากประชาชนโดยมิได้ทรงรังเกียจว่า เป็นของ
ชาวบ้าน แม้ในเวลาปรกติก็ทรงรักษาศีลห้าศีลแปดเป็นตัวอย่างอันดีแก่พสกนิกร ในบรรดาศีลห้าที่ทรง
ถืออย่างเคร่งครัดนั้น มีข้อสำาคัญที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษคือ ศีลข้อที่ ๑, ๒ และ ๓
ศีลข้อ ๑ คือ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ พระองค์ทรงถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยการ
ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายและยังช่วยปลดปล่อยสัตว์ด้วยการไถ่ชีวิตโคกระบือที่จะถูกฆ่าอีกด้วย การ
ไถ่ชีวิตโคกระบือนั้นได้ทรงเริ่มมาตั้งแต่ครั้งเสด็จทรงพระผนวช ได้ทรงเป็นผู้นำาให้มีการ
ไถ่ชีวิตโคกระบือและทรงตั้งธนาคารโคกระบือเพื่อให้ราษฎรทั้งหลายทำาบุญด้วยการไถ่ชีวิตสัตว์มากขึ้น
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาได้ทรงปล่อยปลาหลายพันธุ์ลงในแม่นำ้า ลำาคลอง แม้ว่าปลาส่วนหนึ่งจะต้อง
กลายเป็นอาหารของผู้คนตามลักษณะของวงจรชีวิตสัตว์ที่เป็นอาหารของคนแต่อาจจะมีบางส่วนที่มี
138 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น