Page 5 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 5

คำนำ














              	     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
              ไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันและความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่มุ่งหวัง
              ให้มีกลไกอิสระเพื่อทำหน้าที่ ส่งเสริม คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏ
              เป็นจริง ตามที่มีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวาง ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่สามารถรับเรื่องร้องเรียนในกรณีมีการ
              ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือมีการกระทำที่ไม่เป็นธรรม จากการกระทำของเอกชน ในขณะที่รับเรื่อง
              ร้องเรียนกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือได้รับการกระทำที่ไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงาน

              ของรัฐ เช่นเดียวกับหน่วยงานอิสระอื่นๆ ด้วย จึงมีกรณีร้องเรียนการละเมิดสิทธิผู้ใช้แรงงานที่มาจาก
              การกระทำของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการ และมีการละเลยหรือการกระทำไม่เป็นธรรม
              จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งปัญหากฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
              หรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ซึ่งมีทั้งผู้ใช้แรงงานร้องเรียนรายบุคคล เป็นกลุ่ม และ
              ในนามของสหภาพแรงงาน ทั้งแรงงานที่เป็นคนทำงานภาคเอกชน คนทำงานภาครัฐ คนทำงานภาค
              เศรษฐกิจนอกระบบ แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ และแรงงานข้ามชาติ
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตระหนักถึงปัญหาเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานซึ่งเสีย

              เปรียบในสังคมอย่างมาก และเป็นปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องถึงกฎหมายและนโยบายของรัฐ จึงจัดตั้ง
              คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานขึ้นทำหน้าที่โดยตรง ทั้งตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เสนอแนะการพัฒนา
              กฎหมาย นโยบายของรัฐ ตลอดจนการมีมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมผู้ที่เสียเปรียบในสังคม เชื่อมโยง
              ถึงรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ตลอดจนรณรงค์เชิงรุกเพื่อร่วมกันสร้าง
              กระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคม
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน พบว่าจากการตรวจสอบกรณีร้องเรียน สถานการณ์ปัญหาและ
              รูปแบบการละเมิดสิทธิ มีดังนี้ ละเมิดสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ละเมิดสิทธิด้านสุขภาพและ
              ความปลอดภัยในการทำงานและเงินทดแทน ละเมิดสิทธิด้านประกันสังคม ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
              ในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม

























     Master 2 anu .indd   5                                                                       7/28/08   8:30:29 PM
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10