Page 4 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 4

คำนำ














                  บแต่เริ่มการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
              นัแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔ กสม. ชุดแรกตระหนัก
              ถึงเจตนารมณ์ และภาระหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อ “คนทำงาน” ซึ่ง
              เป็นกลุ่มรากฐานในการค้ำจุนครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย เพราะมีความหมายครอบคลุมต่อ
              ผู้ใช้แรงงานอย่างกว้างขวาง ทั้งแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ แรงงานเหมาค่าแรง แรงงาน
              เหมาช่วง แรงงานรับงานไปทำที่บ้าน จนถึงแรงงานภาคเกษตร แรงงานย้ายถิ่น ทั้งคนไทยไปทำงาน
              ต่างประเทศ และแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีความหมายครอบคลุมถึงพนักงาน
              รัฐวิสาหกิจ คนทำงาน และลูกจ้าง ภาคราชการ และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ทั้งหมด
                    สิทธิคนทำงาน  คือ  สิทธิมนุษยชน  ซึ่งยังมีมิติถึงแรงงานเด็ก  แรงงานหญิง  แรงงานหญิง
              ตั้งครรภ์ คนพิการ คนติดเชื้อ HIV รวมถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองร่วม และ
              กระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองคนทำงานและสหภาพแรงงาน ซึ่งมีนัยสำคัญ คือ
              ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพคนทำงาน และส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เข้มแข็ง
                    ดังนั้น กสม. จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานเป็นการเฉพาะ เพราะภารกิจของ กสม. มี
              ความชัดเจนว่า สามารถรับเรื่องร้องเรียน หรือ หยิบยก ขึ้นตรวจสอบถึงปัญหาการละเมิดสิทธิหรือ
              การกระทำที่ไม่เป็นธรรม  จากเอกชนด้วย  และไม่จำกัดการตรวจสอบเพียงว่าชอบด้วยกฎหมาย
              กฎระเบียบ แต่รวมถึงการตรวจสอบ กฎ ระเบียบ กฎหมาย และนโยบายของรัฐ โดยพิจารณาจาก
              หลักการและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อผูกพันตามกติกาและพันธกรณี
              ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
                    ในการประมวล วิเคราะห์ กรณีร้องเรียนด้าน “คนทำงาน” ในช่วง ๖ ปีของกสม. (จนถึง ๓๐
              กันยายน  ๒๕๕๐)  ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  จึงมุ่งหวังนำเสนอต่อสาธารณะถึง
              สถานการณ์การละเมิดสิทธิต่อคนทำงานที่ยังหนักหน่วงและท้าทายทั้งต่อรัฐและสังคมโดยรวม รวม
              ทั้งประมวลข้อเสนอแนะทั้งเฉพาะหน้า และกฎหมาย นโยบายของรัฐ ที่สำคัญคือได้พยายามสรุปบท
              เรียนการทำงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย วิเคราะห์
              และประเมิน เพื่อการพัฒนาภารกิจของ กสม. และคณะอนุกรรมการ ต่อไปในอนาคต
                    กสม. หวังอย่างยิ่งว่า การจัดพิมพ์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมทั้งหน่วยงานของรัฐ
              ภาคธุรกิจ และพรรคการเมืองต่างๆ และขอขอบคุณต่ออนุกรรมการสิทธิแรงงาน และบุคลากรของ
              สำนักงาน กสม. ทุกท่าน ที่ร่วมกันดำเนินงานอย่างเต็มที่

                                                                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                                      มีนาคม ๒๕๕๑













     Master 2 anu .indd   4                                                                       7/28/08   8:30:05 PM
   1   2   3   4   5   6   7   8   9