Page 196 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 196
๓
(๖) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะกระท าผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๘) ไม่เป็นผู้ที่มีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๙ ที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ส าเร็จการศึกษาไม่ต่ ากว่าปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ
โดยมีผลงาน ประสบการณ์ หรือด าเนินงานในองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ
อันเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะและประสบการณ์ตามที่คณะกรรมการก าหนด แล้วแต่กรณี
(๒) เป็นผู้ที่สามารถศึกษา ตรวจสอบ วิเคราะห์สถานการณ์ และปรากฏการณ์ทางสังคม
ในมุมมองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสามารถให้ค าปรึกษาและข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนตามภารกิจของคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๑๐ ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้ค าปรึกษา ข้อเสนอแนะ ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการ ประธาน
กรรมการและกรรมการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ ๑๑ ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารายงานตัวต่อส านักงานพร้อมด้วยหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) ใบรายงานตัวตามแบบที่ส านักงานก าหนด
(๒) ประวัติการรับราชการหรือการท างาน
(๓) ส าเนาทะเบียนบ้านและส าเนาบัตรประจ าตัวประชาชน หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
หรือนามสกุล (ถ้ามี)
(๔) ใบรับรองตนเองว่าไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๘
(๕) หลักฐานแสดงคุณสมบัติเฉพาะตามข้อ ๙
(๖) รูปถ่ายหน้าตรงขนาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จ านวน ๒ รูป
(๗) ใบรับรองแพทย์ซึ่งมีอายุไม่เกิน ๑ เดือน
ให้ส านักงานออกบัตรประจ าตัวแก่ที่ปรึกษา โดยให้น ากฎหมายว่าด้วยบัตรประจ าตัวเจ้าหน้าที่
ของรัฐและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม พร้อมทั้งจัดท าทะเบียนประวัติไว้เป็น
หลักฐาน ทั้งนี้ บัตรประจ าตัวเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นจากต าแหน่ง
ข้อ ๑๒ ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติตามนโยบาย มติ ค าสั่งของคณะกรรมการ รวมทั้งกฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของคณะกรรมการและส านักงาน
185