Page 195 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 195
๒
“เลขานุการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการจ้างและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการ
ประจ าประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามระเบียบนี้
“ผู้ช่วยเลขานุการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการจ้างและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็น
ผู้ช่วยเลขานุการประจ าประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตามระเบียบนี้
“ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ ๕ ให้ที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการตามระเบียบนี้อยู่ภายใต้ข้อก าหนด
ทางจริยธรรมข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
ที่ปรึกษาประจ าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ ๗ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรแต่งตั้งให้เป็น
ที่ปรึกษาต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
การแต่งตั้งที่ปรึกษา ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ออกค าสั่งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ไม่เกินจ านวนอัตราที่ก าหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ให้ส านักงานเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้ง
ให้เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เป็นไปตามที่ก าหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๘ ที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ ากว่าสี่สิบปี
(๓) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีต าแหน่งหรือเงินเดือนประจ า ข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภา
ฝ่ายการเมือง หรือผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง
(๔) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเป็น
เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งมีต าแหน่งหรือเงินเดือนประจ า
(๕) ไม่เป็นผู้จัดการ กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งท าธุรกิจเพื่อหาก าไร
184