Page 9 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 9
๗
มนุษย์ และกระทบในแง่เสรีภาพทั่วไป หรือสิทธิต่อสังคม เช่น การจัดสรรที่ดิน ให้มีทางเข้าออกโดยก าหนด
ขนาดความกว้าง เพื่อไม่ให้กระทบความเดือดร้อนของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่อนุญาต
จัดสรรต้องพิจารณาหรือจัดหาข้อมูลผลกระทบทางจราจรก่อนพิจารณาอนุญาต อีกทั้งยังต้องค านึงถึง
อ านาจอันชอบด้วยกฎหมายในแง่ข้อจ ากัดของข้อจ ากัดสิทธิ เช่นหลักการคุ้มครองไม่ให้เพิ่มภาระหรือจ ากัด
สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
4. กรณีศึกษาข้อพิพาท
4.1 ข้อพิพาทที่ดินวัด
เจ้าของที่ดินยึดเอาโฉนดของตนมาอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่วัด กรณีนี้ศาลได้มีแนว
ค าพิพากษาว่าวัดมีฐานะเป็นบุคคลเช่นเดียวกับชุมชน เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รับรองการมี
อยู่ของวัด วัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายจารีตประเพณี ไม่จ าเป็นต้องมีกฎหมายปัจจุบันมารับรอง
4.2 เรื่องร้องเรียนของชาวบ้านบางกลอย
ชาวบ้านได้อ้างสิทธิชุมชนว่าชุมชนบางกลอยปรากฏในแผนที่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
และผู้ร้องเรียนตั้งถิ่นฐานสืบเนื่องกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แต่ศาลตัดสินว่าหลักฐานไม่ชัดเจน กรณีนี้
หากต้องการสืบหาข้อเท็จจริงด้วยวิธีพิสูจน์สืบเอกสารสิทธิ อาจต้องหาเอกสารการปวารนาตัวประกอบพิธี
การสวามิภักดิ์สังกัดประเทศสยาม ที่บันทึกไว้โดยกระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเอกสาร
รับรองชาติพันธุ์ที่ออกโดยรัฐ หรืออาจหาเอกสารทางโบราณคดีเพื่อมารับรองสถานะทางชาติพันธุ์ที่ผู้ร้อง
สืบเชื้อสายมา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสิทธิชุมชนเป็นสิทธิดั้งเดิม เป็นรากฐานของอ านาจตั้งแผ่นดินและเป็นสิทธิ
เหนือทรัพย์สินของแผ่นดิน กรณีชาวบ้านบางกลอยก็นับเป็นอีกชุมชนหนึ่งโดยก าเนิดจากกลุ่มประชากร
ที่รวมตัวกันประกอบกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมร่วมกันมาเป็นระยะเวลานาน และสามารถ
ตั้งตัวแทนชุมชนในการบริหารจัดการและแสดงเจตนาแทนชุมชนได้
5. แบ่งกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษาดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1
หน่วยงานด้านการทหารแห่งหนึ่ง ได้ประกาศให้ประชาชนในต าบลไก่เงินออกจากที่ดินที่
เป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินท ากินโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลข ปช 909 ท าให้ประชาชนได้รับ
ความเดือดร้อน และต้องการความเป็นธรรมเนื่องจากได้อาศัยในที่ดินดังกล่าวมานานแล้ว
สรุปผลการวิเคราะห์
1) อ่านเรื่อง/กรณีร้องเรียนแล้ว รู้สึกอย่างไร
- ที่ดินเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ต้องหาข้อเท็จจริงเพิ่ม
2) กรณีศึกษานี้ส่งผลกระทบต่อคนและชุมชนอย่างไร เกี่ยวข้องกับสิทธิของชุมชน
อันเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน หรือการละเมิดสิทธิอย่างไร
- สิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 37, มาตรา 43)
- กระทบที่อยู่อาศัย ที่ท ากิน วิถีชีวิตวัฒนธรรมในชุมชน ชาวบ้านมีทั้งเห็นด้วยและ
ไม่เห็นด้วย
3) กรณีศึกษานี้ เกี่ยวข้องกับกฎหมายอะไร
- รัฐธรรมนูญ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กติการะหว่างประเทศ, ระเบียบ
การเช่าที่ราชพัสดุ
4) ต้องการใช้ข้อมูลหรือเอกสารอะไรส าหรับการตรวจสอบ
- ประวัติการก่อตั้งชุมชน และประกาศที่ราชพัสดุ