Page 7 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 7

๕


                  เพื่อให้มีสถานะพลเมืองในการด ารงชีวิต และการขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคม ซึ่งจะยึดโยงกับการคุ้มครอง
                  ระดับกลุ่ม ซึ่งหมายถึงการให้สิทธิในการปกครองตนเองภายในท้องถิ่นของตน สามารถบริหารจัดการ
                  การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                               1.6 บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

                                    ตัวอย่างการใช้หลักสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป เพื่อมา
                  ประยุกต์ใช้กับการเขียนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน วิทยากรยกตัวอย่างการฟ้องคดีต่อรัฐบาลตุรกี
                  กรณีประชาชนผู้ฟ้องคดีได้รับผลกระทบจากการปล่อยก๊าซมีเทนเกินค่ามาตรฐาน จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต
                  ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิต ตามมาตรา 2 แห่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วย

                  สิทธิมนุษยชน รัฐบาลตุรกีไม่ด าเนินมาตรการป้องกันสิทธิในชีวิตมนุษย์ รวมถึงไม่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ
                  กิจกรรมที่เป็นอันตราย จึงเสนอความเห็นให้รัฐต้องจัดให้มีมาตรการตอบสนองที่เพียงพอในการป้องกัน
                  ความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต รวมถึงมาตรการในการตรวจสอบเหตุการณ์และด าเนินคดีแก่ผู้กระท าความผิด
                  เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในชีวิต และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

                             2. ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

                               2.1 หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs)
                                    - รัฐต้องออกมาตรการควบคุม ออกกฎหมายใช้บังคับแก่เอกชนที่ด าเนินธุรกิจขัดต่อ
                  หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อีกทั้งรัฐยังต้องช่วยองค์กรธุรกิจในการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะ

                  ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                    - รัฐควรมีกฎหมายและมาตรการที่เพียงพอเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้อง
                  กับสนธิสัญญาการลงทุน ข้อตกลงการค้าเสรี หรือสัญญาการลงทุนโครงการต่าง ๆ
                                    - องค์กรธุรกิจต้องหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน และดูแลผลกระทบทางลบจาก
                  การด าเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ก าหนดมาตรการเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชน รับผิดชอบ

                  และเยียวยาต่อผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่องค์กรธุรกิจกระท าหรือมีส่วนกระท าให้เกิดขึ้น
                  ตลอนจนยอมรับกฎหมายสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศ และระดับระหว่างประเทศ
                                    - การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ซึ่งครอบคลุมการประเมินผล

                  กระทบทุกขั้นตอนการด าเนินงาน (Human Rights Impact Assessment) ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจใน
                  ห่วงโซ่อุปทาน หรือเครือข่ายความสัมพันธ์ทางธุรกิจ มีการจัดท าตัวชี้วัด (indicators) ประเมินผลสัมฤทธิ์
                  การจัดท ารายงาน การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยโดยส านักงานคณะกรรมการ
                  ก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้จัดท าคู่มือ HRDD เพื่อให้องค์กรธุรกิจใช้เป็นแนวทางการ

                  ปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                               2.2 แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP)
                                    แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) เป็นเครื่องมือส าคัญ
                  ในการผลักดัน หลักการ UNGPs มาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความส าคัญกับประเด็น 4 ด้าน
                  ได้แก่ แรงงาน ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการลงทุน

                  ระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดท าแผน NAP ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยได้
                  ปรับปรุงเนื้อหาด้านมาตรการลงโทษแก่บริษัทที่ด าเนินธุรกิจโดยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในขั้นตอนการ
                  ประกอบธุรกิจ และเพิ่มมาตรการป้องกันการกดขี่แรงงาน และการจ้างงานเด็ก ส าหรับเจ้าหน้าที่ส านักงาน

                  กสม. สามารถน าแผนปฏิบัติการ NAP มาใช้ประกอบการเขียนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนได้
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12