Page 12 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 12
การไม่เลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย
มาตรฐานสิทธิมนุษยชน
• มนุษย์เกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ
• สิทธิมนุษยชนมาจากศักดิ์ศรีที่ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด
• เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเต็มความสามารถ และรับใช้
ชุมชนรวมทั้งปกป้องคุ้มครองบุคคลจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย
• เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องเคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งต้องดำรงรักษาและ
ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของบุคคล
• บุคคลย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย และมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
โดยไม่เลือกปฏิบัติ
• ในการคุ้มครองและรับใช้ชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องไม่เลือกปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะ
เหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ภาษา สีผิว ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติกำเนิด
ฐานะ ถิ่นกำเนิด หรือสถานะอื่นใด
• การบังคับใช้มาตรการพิเศษบางประการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำหรับบุคคลในสถานะที่จำเป็นต้องได้รับ
การปฏิบัติเป็นพิเศษต่างจากบุคคลทั่วไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น ผู้หญิง
(หมายรวมถึง หญิงมีครรภ์และหญิงที่มีลูกอ่อน) เด็กและเยาวชน คนป่วย คนชรา และบุคคลอื่นใด
ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
• นโยบายในการสรรหาบุคลากร การแต่งตั้งโยกย้าย และการพิจารณาความดีความชอบของหน่วยงาน
ตำรวจ จะต้องไม่เลือกปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายในทุกรูปแบบ
การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน
• สร้างความคุ้นเคยกับชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ พบปะสนทนากับบรรดาผู้นำและตัวแทนของ
กลุ่มชาติพันธ์ุและกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ
• ร่วมในการเป็นสายตรวจเดินเท้า และเข้าร่วมในกิจกรรมบริการชุมชนต่างๆ กับกลุ่มชาติพันธ์ุหลากหลาย
ในพื้นที่
• แสดงการคัดค้านต่ออคติทางชาติพันธ์ุและเชื้อชาติ หรือการพูดในแง่ไม่ดี ทั้งในชุมชนและในสถานีตำรวจ
• เข้าร่วมการฝึกอบรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธ์ุ - กลุ่มเชื้อชาติ ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานของตน
• พูดคุยกับสมาชิกของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ เพื่อเรียนรู้ความต้องการ ข้อร้องเรียน
และข้อเสนอแนะของพวกเขา โดยใช้ความละเอียดอ่อนและความเอาใจใส่
10