Page 14 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 14
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งนี้ บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาต้องก าหนดให้ผู้แทนองค์กรเอกชน
ด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย
มาตรา ๒๔๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอ านาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณี
โดยไม่ล่าช้าและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิด
สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐ
หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(๒) จัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อ
รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
(๓) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่งใด ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(๔) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
(๕) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน
(๖) หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
เมื่อรับทราบรายงานตาม (๑) และ (๒) หรือข้อเสนอแนะตาม (๓) ให้คณะรัฐมนตรี
ด าเนินการปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมโดยเร็ว กรณีใดไม่อาจด าเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการ
ด าเนินการ ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบโดยไม่ชักช้า
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องค านึงถึงความผาสุกของ
ประชาชนชาวไทยและผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นส าคัญด้วย
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
5