Page 74 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 74
อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลส�าเร็จ เนื่องจากมีแรงงาน
หญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ท�าให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการต่อสู้ของกรรมกรหญฺิง
และเป็นการจุดประกายให้ผู้หญิงทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ความพยายามของกรรมกร
สตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลส�าเร็จ เมื่อมีตัวแทนผู้หญิงจาก ๑๗ ประเทศ เข้าร่วมประชุม
สมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่
ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม ๘ คือ
ยอมให้ลดเวลาท�างานเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนา
ศักยภาพของตัวเองอีก ๘ ชั่วโมง และอีก ๘ ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้
ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการ
สตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ทั้งนี้ ยังได้รับรองข้อเสนอของกรรมกรหญิงด้วยการก�าหนด
ให้วันที่ ๘ มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
ในประเทศไทย ข้อมูลของ Protection International ระบุว่ามีนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชนจ�านวนไม่น้อยที่รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงด้วย ถูกข่มขู่
คุกคาม ถูกสังหาร ถูกบังคับ สูญหาย ถูกคุกคามทางเพศอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปี
ที่ผ่านมา อีกทั้งมีจ�านวนมากที่ถูกฟ้องร้องด�าเนินคดีด้วยข้อหาต่าง ๆ ทั้งจากรัฐ
หรือเอกชน มีการเพิ่มขึ้นของการฟ้องคดีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเนื่องจาก
การท�างานที่ชอบธรรมของพวกเธอในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ๘ ใน ๑๐ ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ที่ถูกตั้งข้อหาว่ามีความผิดทางอาญา เป็นผู้หญิง
การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒ ๗๓
01-96_ok.indd 73 29/8/2562 14:05:40