Page 73 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 73

วันสตรีสากล
                            (International Women’s Day)


              ประวัติความเป็นมา



                     วันที่ ๘ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ผู้หญิงทั่วโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา
              วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือความเห็นทางการเมือง จะมารวมตัวกันเพื่อร�าลึกถึง

              ความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนานของผู้หญิง  และร่วมกันผลักดันเพื่อให้ได้มา
              ซึ่งความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน

                     “วันสตรีสากล” เกิดจากกรณีกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก
              ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของ

              พวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการ
              ที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้

              เกิดขึ้น ในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ. ๒๔๐๐) จากนั้น ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗
              (พ.ศ. ๒๔๕๐) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ได้

              ต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจาก
              กรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องท�างานหนักถึงวันละ ๑๖-๑๗ ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด

              ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลา
              อันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็จะถูกไล่ออกจากงาน

                     จากปัญหาความไม่เป็นธรรมจึงท�าให้เหล่ากรรมกรหญิงเรียกร้องความเป็น
              ธรรมด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๗ พร้อมกับเรียกร้องให้

              นายจ้างลดเวลาการท�างานลงเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการ
              ทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย





            ๗๒  การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒



        01-96_ok.indd   72                                                   29/8/2562   14:05:40
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78