Page 152 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 152

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



                    สรุปข้อวิเคราะห์และสังเคราะห์กรณี ความเชื่อมโยงของผังนโยบายระดับประเทศและระดับภาค

             ที่มุ่งให้เป็นกรอบการกำาหนดทิศทางการพัฒนาในระดับจังหวัดและชุมชน ในกรณีภาคใต้พบว่า นโยบาย

             หลายด้านในผังประเทศและผังภาคใต้โดยเฉพาะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่ง
             และการพัฒนาอุตสาหกรรม ยังมีความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์พื้นที่ การกำาหนดทิศทางการพัฒนามุ่ง

             ตอบสนองนโยบายการพัฒนาและการลงทุนภาครัฐที่เป็นการกำาหนดจากส่วนกลางและนำามากำาหนดแนวทาง

             ในผังโดยไม่มีการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมจากประชาชนในชุมชนมีน้อยมาก

             การมีส่วนร่วมเป็นการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในระดับภาค มิได้กระจายการมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด
             และโดยเฉพาะในชุมชนอันเป็นที่ตั้งของโครงการที่จะดำาเนินการและมีข้อร้องเรียน


                    ส่วนการกำาหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สีเขียว ประเภทชนบทและเกษตรกรรม อันเป็นบริเวณที่ตั้ง
             ชุมชนส่วนใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนานั้น การวิเคราะห์พบว่า ฐานเศรษฐกิจของจังหวัดภาคใต้

             ส่วนใหญ่พึ่งพาการเกษตร การประมง การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งอาหารที่สำาคัญ สภาพและกายภาพ

             ของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สีเขียวมีความเหมาะสมทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ แต่การกำาหนดการใช้ประโยชน์ใน
             อนาคตมีความแตกต่างกันในหลายพื้นที่ โดยมิได้คำานึงถึงคุณค่าของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมอันเป็นฐาน

             ทรัพยากรในการดำารงชีวิตส่วนใหญ่ของประชาชน ชุมชนภาคใต้ จึงมีการกำาหนดโดยนโยบายและแผน

             แม่บทการพัฒนาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก เช่น ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมจังหวัดที่มีฐานการผลิต
             ทางการเกษตรคล้ายกัน แต่บางจังหวัด เช่น จังหวัดชุมพร ให้ดำาเนินการโครงการที่มีผลกระทบได้หลาย

             ประเภท แต่บางจังหวัด เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช กำาหนดไว้เป็นข้อห้ามในกิจการดังกล่าว เป็นต้น


                    นอกจากนี้ การจัดทำาข้อกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่สีเขียวในพื้นที่จังหวัดซึ่งมีฐานเศรษฐกิจ
             สังคมและมีสภาพทางกายภาพไม่แตกต่างกันมากนัก มีการจัดทำาข้อกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่

             ชนบทต่างกัน เช่น กรณีจังหวัดชุมพรไม่มีข้อห้ามกิจกรรมในด้านโรงกลั่นปิโตรเลียมโรงงานถลุงเหล็ก

             โรงไฟฟ้าทุกประเภท แต่จังหวัดอื่น เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช มีการกำาหนดเป็นกิจกรรมที่ห้าม

             ดำาเนินการและกรณีจังหวัดที่มีคำาร้องเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด
             กระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดสงขลา มีการกำาหนดข้อห้ามโรงงานผลิต ส่ง หรือจำาหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่

             ชนบทและเกษตรกรรมต่างกัน คือ จังหวัดกระบี่ ให้มีโรงงานผลิต ส่ง หรือจำาหน่ายพลังงานไฟฟ้าได้ในพื้นที่

             ชนบทและเกษตรกรรม แต่เป็นข้อห้ามในจังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง เป็นต้น

                    ตามเกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ. 2549 ของกรมโยธาธิการและผังเมืองการกำาหนดแนวทาง

             การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เพื่อควบคุมการขยายตัวของชุมชนและรักษาคุณค่า
             ของพื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน เช่น

             ป่าไม้ ป่าชายเลน พื้นที่ชุ่มนำ้า พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ชายฝั่งทะเล แม่นำ้า เป็นต้น ในขณะที่การกำาหนด

             พื้นที่อุตสาหกรรม จะต้องเป็นพื้นที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับชุมชน โบราณสถาน พื้นที่มีคุณค่าต่อ
             ระบบนิเวศ จุดเด่นของพื้นที่






                                                           151
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157