Page 24 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 24
23
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
พันธะหน้าที่ของรัฐเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันนำาไปสู่การจัดทำาตัวชี้วัด “ที่สามารถบ่งชี้” ถึงพันธะหน้าที่
ด้านต่างๆ ที่ผูกพันรัฐ
กล่าวได้ว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการว่า พันธกรณีระหว่างประเทศมีสามด้าน คือ
• พันธกรณีในการเคารพ (obligation to respect)
• พันธกรณีในการปกป้องคุ้มครอง (obligation to protect)
• พันธกรณีในการทำาให้บรรลุผล (obligation to fulfill)
๒.๒.๒.๑ พันธกรณีในก�รเค�รพ
พันธกรณีในการเคารพ ถือเป็นหน้าที่เชิงลบ นั่นคือ รัฐหรือผู้มีหน้าที่ (Duty Bearer)
ต้องหลีกเลี่ยง และไม่ขัดขวางบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิ ทำาให้ผู้ทรงสิทธิไม่อาจใช้สิทธิตามที่บุคคลนั้นมี
ตัวอย่างหน้าที่ในการเคารพในแง่สิทธิทางด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในครอบครัว
รัฐจะต้องไม่แทรกแซงการใช้ชีวิตครอบครัว เช่น การห้ามข้าราชการหญิงสมรสกับชาวต่างชาติ ในแง่
สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น รัฐต้องเคารพสิทธิในสุขภาพของบุคคลในการเลือก
๒๓
ที่จะรับการรักษา หรือดูแลสุขภาพของตัวเอง หรือเคารพเสรีภาพในการเลือกทำางานประกอบอาชีพ
ของบุคคล ดังนั้น การบังคับให้บุคคลทำางานในโรงงานในระบอบคอมมูน ถือว่า ไม่เคารพเสรีภาพ
ในการทำางานเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคล
๒.๒.๒.๒ พันธกรณีในก�รปกป้องคุ้มครอง
รัฐในฐานะที่เป็นผู้มีหน้าที่ (Duty Bearer) มีภาระหน้าที่ต้องปกป้องคุ้มครอง
ไม่ให้บุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิ (Right Holder) ถูกละเมิดจากบุคคลที่สาม ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดา
องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ หรือจากนโยบายรัฐเอง ดังนั้นรัฐจึงต้องมีนโยบาย ออกกฎหมาย หรือ
สร้างค่านิยมหรือความรู้ความเข้าใจเพื่อไม่ให้กลไกหรือบุคคลที่อยู่ภายในอำานาจรัฐละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
หน้าที่ในการคุ้มครองในแง่ของสิทธิทางด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทาง
การเมือง อย่างเช่น การมีกฎหมายอาญาบัญญัติให้การฆ่า หรือทำาร้ายร่างกายเป็นความผิด และ
การมีเจ้าพนักงานตำารวจบังคับใช้กฎหมาย และมีศาลรับคำาฟ้องในกรณีที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิในชีวิต
เพื่อการบังคับให้การคุ้มครองปกป้องบังเกิดผล
ภาระหน้าที่ในการคุ้มครองในแง่ของสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เช่น สิทธิในอาหาร รัฐออกกฎหมายกำาหนดมาตรฐานอาหาร เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับอาหาร
๒๔
ที่มีคุณภาพ เป็นต้น
๒๓ วิชัย ศรีรัตน์ และคณะ, ศัพท์สิทธิมนุษยชน, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพ: ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ), หน้า ๑๖๐
๒๔ เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๕๓