Page 22 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 22
21
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒.๒ พันธกรณีระหว่างประเทศของ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ ได้กำาหนดให้
กสม. มีหน้าที่
“ตรวจสอบและรายงานการกระท�า หรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ที่ประเทศไทยเป็นภาคี”
ประเด็นปัญหามีว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ก่อพันธะหน้าที่ให้กับประเทศไทย
หรือไม่ ประเด็นนี้ ถ้าคำาตอบมีว่า “ไม่ก่อพันธกรณีระหว่างประเทศ” กสม. ก็ไม่มีอำานาจหน้าที่
รายงาน ข้อถกเถียงเรื่องสถานะของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก่อพันธะหน้าที่ของรัฐหรือไม่
เป็นปัญหาทางทฤษฎีกฎหมายเท่านั้น ในทางปฏิบัติประเด็นนี้ไม่มีความสำาคัญมากนัก
ประเด็นปัญหาทางทฤษฎีเกิดจากการพิจารณาพันธะหน้าที่ของรัฐจาก “ชื่อ” หรือ “ประเภท”
ของตราสารระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากคำาว่า “ปฏิญญา” หรือ “Declaration” เป็นตราสาร
ที่จัดทำาขึ้นเพื่อรวบรวมหลักการเพื่อขอให้ที่ประชุมทางการทูต หรือสมัชชาใหญ่สหประชาชาติรับรอง
โดยไม่มีสถานะทางกฎหมายผูกพันรัฐให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น นักกฎหมายบางท่านมีความเห็นว่า
“ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไม่มีพันธกรณีทางกฎหมาย” ๑๙
อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
มีฐานะเป็นตราสารที่รวบรวมหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ได้ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติระหว่าง
ประเทศ (State practice) โดยที่ประเทศต่างๆ เชื่อว่า สิทธิที่รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนนั้นมีค่าทางกฎหมายที่ผูกพันรัฐ (opinio juris) แนวปฏิบัติของรัฐประกอบกับความเชื่อ
ว่าเป็นกฎหมายนี้เอง ทำาให้สิทธิต่างๆ ที่รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก่อตัวขึ้น
เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (international customary law) ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่มา (source)
๒๐
ของกฎหมายระหว่างประเทศ หรือก่อพันธะระหว่างประเทศ
ประการต่อมา คณะผู้ศึกษาเห็นว่า สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือ
การอธิบายพันธะหน้าที่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ เห็นได้ว่า ในขณะที่รับรองกฎบัตรสหประชาชาติ คำาว่า
สิทธิมนุษยชนยังมีความคลุมเครือ ดังนั้น สหประชาชาติจึงร่างกฎบัตรฯ ขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า สิทธิมนุษยชน
มีอย่างไร ดังที่ ศาสตราจารย์จอห์น ฮัมฟรี อดีตผู้อำานวยการฝ่ายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Division)
ของสหประชาชาติ เห็นว่า การจัดทำาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน “เป็นการอ้างกลับไป (refer back)
ถึงกฎบัตรว่าสิทธิมนุษยชน (มาตรา ๕๕, ๕๖) ที่รัฐภาคีต้องการส่งเสริมนั้นมีอะไรบ้าง” ๒๑
๑๙ อุดมศักดิ์ สินธุวงษ์ “สิทธิมนุษยชน” (กรุงเทพฯ วิญญูชน ๒๕๕๔), หน้า ๒๙.
๒๐ Statute of the International Court of Justice Article 38, [online] Available at <http://www.icj-cij.org/documents/?p1=
4&p2=2&p3=0> (20 May 2012).
๒๑ วิชัย ศรีรัตน์, อ้างแล้ว หน้า ๑๐-๑๑