Page 173 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 173
ดังจะเห็นได้จากงานวิจัย เรื่อง “นักโทษประหารหญิง” ของ อรสม สุทธิสาคร (๒๕๔๖)
โดยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากนักโทษประหารหญิงในทัณฑสถานหญิง จำานวน ๙ คน
ซึ่งเป็นนักโทษประหารชีวิตหญิงที่มีสถานภาพเป็นนักโทษเด็ดขาด ต้องคำาพิพากษาจากศาลสูงสุด
ให้ต้องโทษประหารชีวิต
ผลการศึกษาปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างกระทำาผิดด้วยคดีฆาตกรรมและค้ายาเสพติด
สำาหรับสาเหตุในการกระทำาผิดเนื่องจากมีความโลภ ต้องการร่ำารวย สำาหรับกรณีการค้ายาเสพติด
และการบันดาลโทสะ สำาหรับกรณีต้องโทษด้วยคดีฆาตกรรม อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่าง
จำานวน ๓ รายเท่านั้น ที่สารภาพว่าได้กระทำาผิดจริง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่า
กระทำาผิดจริง โดยให้เหตุผลที่ต้องโทษประหารชีวิตว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาทิ การที่
รู้จักกับผู้ค้ายาเสพติดจึงถูกจับกุมในฐานะผู้ร่วมค้ายาเสพติดด้วย หรือการถูกหลอก และการถูก
ปรักปรำาจากพยาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดประสบปัญหาขณะต้องโทษ
ในเรือนจำา โดยประสบปัญหาด้านสุขภาพอันเกิดจากความเครียดที่ต้องโทษประหารชีวิต การมีชีวิต
ที่ไร้คุณค่า มีโอกาสน้อย ที่จะพ้นโทษออกจากเรือนจำา
นอกจากนี้ งานวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกระทำาผิดของนักโทษประหาร”
ของสุมนทิพย์ จิตสว่าง (๒๕๕๓) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของครอบครัว การคบเพื่อน
ความผูกพันต่อสังคม การเรียนรู้ทางสังคม สภาพร่างกาย สภาพจิตใจ การควบคุมตนเอง การถูก
ตีตราจากสังคม และการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือโทษของนักโทษประหาร รวมทั้งเพื่อศึกษา
ถึงอิทธิพลของปัจจัยครอบครัว การคบเพื่อน ความผูกพันต่อสังคม การเรียนรู้ทางสังคม การ
ควบคุมตนเอง การถูกตีตราจากสังคม และการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือโทษที่ได้รับต่อพฤติกรรม
การกระทำาผิดของนักโทษประหาร และศึกษาถึงพฤติกรรมการกระทำาผิดของนักโทษประหาร
โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ
สุ่มแบบชั้นภูมิ และสุ่มแบบง่าย จากเรือนจำากลางบางขวาง เรือนจำากลางคลองเปรม และ
ทัณฑสถานหญิงกลาง รวม ๒๒๐ คน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวก่อนต้องโทษ
ถูกเพื่อนชักชวนให้กระทำาผิด ส่วนใหญ่มีความรักความผูกพันกับชุมชนที่อยู่อาศัยน้อย เมื่อโกรธ
มักจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ถูกตีตราจากสังคมน้อยและไม่มีความเกรงกลัวต่อโทษประหาร
ชีวิตในขณะกระทำาผิด นอกจากนี้ จากผลการศึกษายังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีลักษณะพฤติกรรม
ความเป็นอาชญากรอาชีพในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กระทำาผิดครั้งแรก กระทำาผิด
โดยอารมณ์ชั่ววูบ เตรียมการณ์ในการกระทำาผิดน้อย กระทำาผิดโดยไม่สังกัดองค์กรอาชญากรรม
กระทำาผิดโดยใช้ทักษะความชำานาญน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชญากรรม จำานวน ๑ ครั้ง ภายใน
ระยะเวลา ๖ เดือน มีรายได้จากการประกอบอาชญากรรมไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท และถูกจับกุม
ขณะกระทำาผิดในครั้งแรกทันที (สุมนทิพย์ จิตสว่าง, ๒๕๕๓)
160 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ