Page 170 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 170
สำาหรับ ๓๕ ฐานความผิด อาทิ การลอบวางเพลิง การติดสินบน การคอรัปชั่น ความผิดที่เกี่ยวข้อง
กับยาเสพติด การรวมกลุ่มแก๊งในการปล้น การค้ามนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต การลักพาตัว
เพื่อเรียกค่าไถ่ การฆาตกรรมในคดีอุกฉกรรจ์ การข่มขืนแล้วฆ่า และความผิดในคดีอุกฉกรรจ์อื่น ๆ
ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต การก่อการร้ายซึ่งประกอบด้วยการทำาลายสถานที่ของส่วนรวม สถานที่
ทางศาสนา หรือแหล่งขนส่งมวลชน การจี้เครื่องบินที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเสียชีวิต การกบฏ การกระทำาผิด
ต่อเชื้อพระราชวงศ์ การกระทำาผิดต่อความมั่นคงของรัฐ การให้การสนับสนุนต่อศัตรูในการทำาลาย
ประเทศชาติ และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ เป็นต้น
ก�รใช้โทษประห�รชีวิตในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับย�เสพติด
จากขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดตามข้อเสนอขององค์การสหประชาชาติ
ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมการกระทำาผิดที่มีเจตนาในการฆาตกรรมโดยมีผลทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต อย่างไร
ก็ตามนักโทษประหารในประเทศไทยส่วนใหญ่กระทำาผิดในคดียาเสพติด โดยมีความเกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดที่มีปริมาณมาก ดังจะเห็นได้จากข้อกำาหนดทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่กำาหนดให้ความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่มี
กำาหนดโทษสูงสุด คือ การต้องโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม จากข้อกำาหนดของกฎหมาย
ดังกล่าวข้างต้นได้กำาหนดให้ผู้กระทำาผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประกอบด้วย ผลิต นำาเข้า หรือส่งออก
รวมทั้งจำาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำาหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ยาเสพติด
ชนิดร้ายแรง มี ๓๘ รายการ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน อีเทอร์ฟิน เมทแมเฟตามิน ฯลฯ
จะต้องโทษประหารชีวิต อันแสดงให้เห็นว่าตามกฎหมายไทยผู้ที่กระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดในประเภทที่ ๑ ถือเป็นการกระทำาผิดที่รุนแรงจะต้องรับโทษประหารชีวิต ซึ่งหาก
พิจารณาตามข้อกำาหนดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เป็นกฎหมายที่กำาหนดไว้โดยมีความสอดคล้อง
กับเจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติที่ได้กำาหนดขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด
คือ พฤติกรรมการกระทำาผิดที่มีเจตนาในการฆาตกรรมโดยมีผลทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต เนื่องจาก
พฤติกรรมการผลิตหรือการจำาหน่ายยาเสพติดทำาให้ผู้เสพยาเสพติดมีปัญหาด้านสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตอันส่งผลต่อการเสียชีวิตในระยะยาว หรือผู้ติดยาเสพติดอาจเปรียบเสมือน
ผู้ที่ตายทั้งเป็น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสภาพร่างกายและสภาพจิตใจได้ นอกจากนี้ การเสพ
ยาเสพติดยังส่งผลทางอ้อมต่อประชาชนทั่วไปในสังคม เนื่องจากผู้เสพยาเสพติดอาจประกอบ
อาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ นอกจากนี้ ผู้ที่เสพยาเสพติดส่วนหนึ่งเมื่อเสพ
ยาเสพติดแล้วอาจมีอาการคลุ้มคลั่งจนทำาร้ายร่างกาย หรือฆาตกรรมบุคคลรอบข้างได้ เพราะ
ยาเสพติดที่ทำาให้เกิดอาการประสาทหลอน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการลงโทษประหารชีวิตสำาหรับ
การกระทำาผิดคดีการผลิต/จำาหน่ายยาเสพติดร้ายแรงอาจสอดคล้องกับเจตนารมณ์ขององค์การ
สหประชาชาติที่ได้กำาหนดขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดดังกล่าวข้างต้น เพราะการผลิต
หรือค้ายาเสพติด เปรียบเสมือนการเจตนาที่จะฆาตกรรมบุคคลในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 157