Page 126 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 126

ล่วงหน้า  การคบชู้ของบุคคลที่แต่งงานแล้ว  การละทิ้งศาสนา  และการเป็นสายให้กับศัตรูในช่วง
                     เวลาสงคราม

                                     อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับในเรื่องหลักฐานพยานนั้นเข้มงวด ต้องมีพยานสี่คน การขาด

                     ซึ่งเจตนาในการกระทำาผิด อาจทำาให้นักโทษได้รับการปล่อยตัวและขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของผู้พิพากษา
                     โทษประหารชีวิตนั้นเป็นสิ่งจำาเป็น  เพื่อให้ดำารงไว้ซึ่งความปลอดภัยของสังคมเพื่อให้ดำารงไว้
                     ซึ่งความปลอดภัยของสังคม  เพื่อให้คนดีดำาเนินชีวิตได้  สันติสุขนั้นกำาเนิดจากภายในแต่ละบุคคล

                     แพร่ออกไปสู่ครอบครัว ประเทศชาติ และโลกทั้งมวล

                                     ศาสนาอิสลามยังยกย่องการขัดขวางแทรกแซงด้วยใจเมตตา  ในกรณีที่ญาติ
                     ของเหยื่อยกโทษให้กับฆาตกร  เมื่อปรากฏว่าฆาตกรได้สำานึกผิดอย่างแท้จริง  ยอมจ่ายค่าทดแทน
                     หรือยอมรับโทษอย่างอื่นแทน

                                     แต่โทษประหารชีวิตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎศาสนาอิสลาม และในประเทศไทย

                     ชาวมุสลิมนั้นเป็นชนส่วนน้อย ซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎของรัฐและจะไม่ประท้วงหากการยกเลิกโทษประหาร
                     แต่ประการใด ซึ่งแท้จริงแล้วประเทศไทยยังมีข้อผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมอยู่มาก ดังจะเห็น
                     ได้จากกรณีของการจับแพะ โดยมีผู้ยากจนและผู้บริสุทธิ์ต้องตกเป็นเหยื่อในการลงโทษอยู่บ่อยครั้ง

                     ดังนั้น  หากประเทศไทยจะมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตจะมีความเหมาะสม  (สมาคมสิทธิ

                     เสรีภาพของประชาชน, ๒๕๕๑)


                                     ศ�สน�คริสต์

                                     แม้ว่าจะมีการแปลความว่าคำาสอนของพระเจ้าได้ประณามการประหารชีวิต

                     อย่างไรก็ตาม มีบางคนได้เห็นว่าได้มีการสนับสนุนให้มีการใช้โทษประหารชีวิต โดยมีความคิดเห็น
                     ที่หลากหลายต่อการใช้โทษประหารชีวิตในศาสนาคริสต์
                                     โดยนิกายโรมันคาธอลิก ยอมรับในแนวคิดของการใช้โทษประหารชีวิต (จากแนวคิด

                     ของ Thomas Aquinas ที่เห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิตมีความจำาเป็นในการข่มขู่ยับยั้ง และป้องกัน

                     สังคม หากแต่ไม่ใช่เป็นหนทางแห่งการแก้แค้น) อย่างไรก็ตาม นิกายนี้เห็นว่าควรมีการหลีกเลี่ยง
                     การใช้โทษประหารชีวิต  นอกจากจะเป็นหนทางเดียวเพื่อเป็นการปกป้องสังคม  แต่ในปัจจุบัน
                     นิกายนี้ได้เรียกร้องให้มีการใช้โทษประหารชีวิตให้น้อยที่สุด  หรือมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                     (Capital Punishment, 2008)

                                     สำาหรับนิกายแองกลิกัน  และพระชั้นบิชอพ  (Anglican  and  Episcopalian)
                     ได้มีการประณามการใช้โทษประหารชีวิตอย่างเห็นได้ชัดเจน ในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ และนิกาย Methodist
                     ได้ประณามการใช้โทษประหารชีวิต  โดยเห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการแก้แค้นทดแทน

                     และเป็นการอาฆาตพยาบาทในการทำาให้มนุษย์เสียชีวิต โดยเห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการ

                     ไม่ยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม เพราะคนที่ต้องโทษประหารชีวิตโดยส่วนใหญ่








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 113
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131