Page 121 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 121

ดังนั้น จากข้อกำาหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                  ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  มีการพัฒนาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนชาวไทย

                  มากขึ้น  รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิดที่จะไม่ต้องได้รับโทษที่มีความโหดร้ายทารุณ

                  หากแต่ประเทศไทยได้มีการกำาหนดการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง
                  จึงมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  และทำาให้ประเทศไทยยังคง
                  มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิต ดังนั้น แนวทางในอนาคตที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อการยกเลิก

                  โทษประหารชีวิต อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่มีความเหมาะสมให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

                  ที่กำาหนดไว้ คือ การยกเลิกโทษประหารชีวิต




                  ๒.๕  โทษประห�รชีวิตกับหลักก�รที่สำ�คัญในสังคมไทย




                           สำาหรับโทษประหารชีวิตกับหลักการที่สำาคัญในสังคมไทย ปรากฏดังนี้



                           ๒.๕.๑ หลักก�รท�งศ�สน�และศีลธรรม

                                  แนวคิดท�งศ�สน�ที่เกี่ยวข้องกับก�รประห�รชีวิต
                                  สำาหรับแนวคิดทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิต ประกอบด้วย



                                  ศ�สน�พุทธ

                                  ศาสนาพุทธมีข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิต คือ ข้อกำาหนดในศีล ๕
                  ข้อ ๑ ที่กำาหนดไม่ให้มีการฆ่าสัตว์
                                  ดังนั้น การประหารชีวิตผู้ที่นับถือศาสนาพุทธหรือไม่ได้นับถือศาสนาพุทธจึงเป็น

                  สิ่งที่ขัดต่อหลักคำาสอนของพุทธศาสนา เพราะการประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่เป็นการทำาลายชีวิต

                  ร่างกายผู้กระทำาผิด อันถือได้ว่าการประหารชีวิตผู้กระทำาผิดในประเทศไทยเป็นการขัดต่อหลักศาสนา
                  ที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ประชาชนโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
                  แต่ยังคงมีโทษประหารชีวิตในประเทศดังกล่าว เช่น ประเทศไทย พม่า ศรีลังกา มองโกเลีย อินโดนีเซีย

                  และญี่ปุ่น  ยังคงมีโทษประหารชีวิต  เป็นประเด็นที่สร้างความสงสัยให้แก่ประเทศต่าง  ๆ  ทั่วโลก

                  (Capital Punishment, 2008)
                                  สำาหรับจุดมุ่งหมายพระพุทธศาสนา คือ การสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต
                  ของมวลมนุษย์ทุกหมู่เหล่า  พระพุทธศาสนาได้สอนว่า  ทุกชีวิตมีสิทธิ์ต่อชีวิต  แม้เพียงความคิด

                  จะทำาลายล้างสิ่งมีชีวิตด้วยกันก็เป็นความผิด  คือ  เป็นบาปแล้วในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา

                  และความเชื่อในพระพุทธศาสนา  เชื่อว่าแหล่งต้นตอของความชั่วร้ายในการกระทำาของมนุษย์นั้น
                  มาจากความคิดด้านร้าย คือ อกุศลจิต ซึ่งเป็นมโนกรรม อันนำามาไปสู่การก่อวจีกรรมและนำาไปสู่






       108     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126